โพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia)

ภาวะโพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia) คือการที่ปริมาณค่าโพแทสเซียมในเลือดสูงเกิดกว่าค่าปกติ และอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายให้เป็นโรคได้หลายโรคเช่น โรคหัวใจ ไตวาย ไตวายเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

ค่าโพแทสเซียมในเลือดตามปกติจะอยู่ระหว่าง 3.6 ถึง 5.2 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol / L) หากระดับโพแทสเซียมสูงกว่า 5.5 mmol / L จะถือว่าผิดปกติ และหากระดับโพแทสเซียมมีมากกว่า 6 mmol / L อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การวัดผลอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละการทดสอบ การเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อควบคุมให้ร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้อง โพแทสเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจของมนุษย์

แม้ว่าโพแทสเซียมจะจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่น เดียวกัยในกรณีที่ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ โดยปกติไตคืออวัยวะที่ใช้รักษาสมดุลของโพแทสเซียมในร่างกาย โดยทำหน้าที่ขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกาย แต่ด้วยปัจจัยความผิดปกติของร่างกายบางประการจะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติได้ เรียกว่า

สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงนั้นมีหลายสาเหตุรวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและการใช้ยาบางชนิด:

ไตวาย: ไตวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โพแทสเซียมสูงผิดปกติ เมื่อไตวายหรือทำงานไม่ปกติ ไตจะไม่สามารถกำจัดโพแทสเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ทำให้เกิดการสะสมโพแทสเซียมในเลือดได้

ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงมักสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น:

  • ยาสำหรับเคมีบำบัดบางชนิด
  • ยายับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE)
  • ยาลดความดันกลุ่มแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์
  • อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโพแทสเซียมมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติำด้ และอาจรุนแรงจนถึงระดับที่เป็นอันตราย

การใช้แอลกอฮอล์หรือยา: การใช้แอลกอฮอล์หรือยาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย ความเสียหายนี้อาจปลดปล่อยโพแทสเซียมจำนวนมากจากเซลล์กล้ามเนื้อออกมาแล้วเข้าสู่กระแสเลือด

การบาดเจ็บ: การบาดเจ็บบางอย่างส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น เกิดจาดโพแทสเซียมส่วนเกินรั่วไหลออกจากเซลล์ของร่างกายแล้วเข้าสู่กระแสเลือด  แผลไฟไหม้ หรือแผลกดทับที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อจำนวนมากบาดเจ็บมักส่งผลกระทบในลักษณะนี้

อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

อาการโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นกับระดับของแร่ธาตุในเลือดของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย แต่หากระดับโพแทสเซียมสูงมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้:

  • อ่อนเพลียหรือไม่มีแรง
  • รู้สึกชาหรือเสียวซ่า
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • ใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ในกรณีที่รุนแรงระดับโพแทสเซียมที่สูงผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการอัมพาต หรือหัวใจล้มเหลวได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจร้ายแรงถึงชีวิตจึงจำเป็นต้องจัดการกับภาวะนี้ทันที หากตรวจพบระดับโพแทสเซียมที่ผิดปกติ และต้องเข้ารับการรักษาจนกว่าระดับโพแทสเซียมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

การวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

การตรวจเลือดหรือปัสสาวะจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงได้ เลือดมักถูกตรวจในการตรวจสุขภาพประจำปี หรือหากผู้ป่วยได้รับยาตัวใหม่ ปัญหา เกี่ยวกับระดับโพแทสเซียมจะพบได้จากการทดสอบเหล่านี้ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง สิ่งสำคัญคือต้องตรวจร่างกายเป็นประจำ เนื่องจากอาจไม่พบอาการใด ๆ แม้ว่าระดับโพแทสเซียมจะสูงผิดปกติก็ตาม

เป้าหมายโดยทั่วไปของการรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงคือ การช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดโพแทสเซียมส่วนเกินได้อย่างรวดเร็ว และควบคุมให้หัวใจทำงานได้ปกติ ได้แก่:

การรักษาด้วยการฟอกเลือด

หากระดับโพแทสเซียมสูงเนื่องจากไตวาย การฟอกเลือดคือวิธีการรักษาที่ดีที่สุด การฟอกเลือดจะใช้เครื่องช่วยกำจัดของเสียออกจากเลือด รวมถึงโพแทสเซียมส่วนเกินด้วย ใช้วิธีนี้เมื่อไตของผู้ป่วยไม่สามารถกรองเลือดได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยการใช้ยา

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อรักษาระดับโพแทสเซียมในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งรวมถึง:

  • แคลเซียมกลูโคเนต: แคลเซียมกลูโคเนตช่วยลดผลกระทบของโพแทสเซียมกับหัวใจ เป็นการรักษาอาการจนกว่าระดับโพแทสเซียมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ยาขับปัสสาวะ: แพทย์จะสั่งยาขับปัสสาวะเพื่อทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น ยาขับปัสสาวะบางชนิดช่วยให้ปริมาณโพแทสเซียมถูกขับออกมาจากไตได้มากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาขับปัสสาวะประเภทต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ชนิดขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือดผู้ป่วย
  • ยาขับปัสสาวะแบบวนซ้ำ
  • ยาขับปัสสาวะที่ช่วยรักษาระดับโพแทสเซียม
  • ยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก

ยาขับปัสสาวะแต่ละประเภทล้วนมีเป้าหมายที่ส่วนต่างๆของไตต่างกัน

การรักษาด้วยเรซิน

บางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับยาที่เรียกว่าเรซินเพื่อรับประทานทางปาก เรซินจะจับกับโพแทสเซียมเพื่อให้ร่างกายสามารถขับออกไปได้ ในระหว่างการทำงานของลำไส้

[Total: 0 Average: 0]