ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ทุกระบบจะทำงานร่วมกันเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ อวัยวะแบ่งตามประเภทหลัก ๆ ได้สองแบบ คือ
- โรคจากอวัยวะภายนอก ได้แก่ อวัยวะที่มองเห็นได้ เช่น
- โรคตา
- โรคหู
- ลิ้น
- ฟัน
- จมูก
- แขน
- ขา
- ผิวหนัง
- โรคจากอวัยวะภายใน ได้แก่ อวัยวะที่มองเห็นไม่ได้ เช่น
- โรคสมอง: สมองเป็นหนึ่งในอวัยวะมหัศจรรย์ มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน เซลล์สมองมีความจำเพาะและเปราะบาง มีมากมายเป็นพันๆล้านเซลล์ สมองทำให้เรามีความสามารถที่จะพูด คิด แก้ปัญหา จำ สั่งการการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำหน้าที่แทบทุกอย่างที่คนเราทำ การดูแลรักษาให้สมองทำงานเป็นปกติ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
- โรคหัวใจ: โรคหัวใจ คือ มีความหมายกว้างมาก อาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก ดังอาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้นการที่ แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติ อาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการ ตรวจพิเศษต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆที่มีอาการคล้ายกัน
- โรคปอด: โรคระบบทางเดินหายใจและโรคปอดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ และเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการตายของประชากรโลกสูงมาก อยู่ในอันดับต้น ๆ นอกจากนั้นยังเป็นโรคที่ต้องให้การรักษาอาการป่วยเรื้อรัง เนื่องจากปอดพิการ ทำให้มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจไม่สะดวก
- โรคหลอดอาหาร
- โรคกระเพาะอาหาร
- โรคลำไส้เล็ก
- โรคลำไส้ใหญ่
- โรคตับ: โรคตับ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับช้าลง เริ่มตั้งแต่การผลิตโปรตีน การจัดการกับสารพิษในร่างกาย การไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับไม่สะดวก หรือบางกรณีอาจปิดกั้นไปเลยก็มี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นหนักหนาแค่ไหน ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายแปรปรวน และอาจนำพาให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นกัน
- โรคไต: โรคไตนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังบ่อยที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และนิ่วในทางเดินปัสสาว สาเหตุของโรคไตที่สำคัญในประเทศไทยอีกสาเหตุหนึ่งคือการกินยาที่มีผลต่อการทำงานของไต โดยมักพบสัมพันธ์กับการกินยาแก้ปวดปริมาณมาก หรือการกินยาสมุนไพรบางชนิด ในผู้ที่เริ่มมีความบกพร่องของไต
- โรครังไข่
- โรคกระดูก: โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบไขข้อและกระดูก โรคเกี่ยวกับไขข้อ โรคเกี่ยวกับกระดูก มีอะไรบ้าง การป้องกันโรคข้อ การดูแลรักษา สาเหตุของโรคทางข้อ อาการของโรคข้อ เป็นโรคข้อกระดูก รักษาอย่างไร ต้องทำอย่างไร กลุ่มเสี่ยงโรคข้อและกระดูก คือ ผู้สูงอายุ และ การเกิดอุบัติเหตุ
อวัยวะของมนุษย์ แบ่งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีหกประเภท
- ศีรษะและคอ (Head & Neck)
- หลัง (Back)
- อก (Thorax)
- ท้อง (Abdomen)
- เชิงกราน และฝีเย็บ (Pelvis and perineum)
- รยางค์บนและรยางค์ล่าง (Upper limbs/Lower limbs)
6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกต่อไป
เราต่างรู้ดีว่า ไส้ติ่ง คืออวัยวะไร้ประโยชน์ที่หลงเหลือมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายที่ไม่มีประโยชน์ใช้งานสำหรับคนยุคปัจจุบันอีกต่อไป
ดร.ดอร์ซา อามีร์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านวิวัฒนาการ ระบุว่า “ร่างกายของคุณก็คือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติดี ๆ นี่เอง”
แล้วเหตุใดลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเราแม้ว่ามันจะไม่มีประโยชน์แล้ว
คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ เพราะวิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั่นเอง
ในบางครั้งก็ไม่มีแรงกดดันจากการคัดเลือกทางธรรมชาติเพียงพอที่จะขจัดลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ไร้ประโยชน์บางอย่างไป ดังนั้นมันจึงยังหลงเหลืออยู่จากรุ่นสู่รุ่น ในบางกรณีลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ได้พัฒนาประโยชน์การใช้งานใหม่ขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า “การเปลี่ยนหน้าที่ของโครงสร้าง” (exaptation)
นี่คือ ลักษณะที่หลงเหลือจากวิวัฒนาการ 6 อย่างที่พบในมนุษย์ :
1. หางตัวอ่อนมนุษย์
ตัวอ่อนมนุษย์พัฒนาหางขึ้นมาในสัปดาห์แรก ๆ ของการปฏิสนธิ แต่หางนี้จะหายไปก่อนที่เราจะเกิด และกระดูกสันหลังที่เหลืออยู่จะกลายเป็นกระดูกก้นกบ
2. ฟันคุด
ฟันกรามซี่ที่ 3 ของมนุษย์มีประโยชน์น้อยลงเพราะคนเราเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและธัญพืชหุงสุก มนุษย์ยุคปัจจุบันไม่ได้มีฟันคุดกันทุกคน และทันตแพทย์หลายคนมักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกไป
3. กล้ามเนื้อออริคิวลาร์ (auricular muscles)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้เพื่อขยับใบหู รวมทั้งใช้ตรวจจับฟังเสียงของเหยื่อและสัตว์นักล่าต่าง ๆ แต่สำหรับมนุษย์ซึ่งมีคอที่ยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับการระแวดระวังภัย จึงไม่จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไป
4. กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus)
เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตั้งแต่บริเวณข้อมือถึงข้อศอก มันช่วยบรรพบุรุษของเราในการปีนป่ายต้นไม้ ทว่าปัจจุบันมีมนุษย์ราว 10% ที่ไม่มีกล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไปแล้ว
5. กล้ามเนื้อเรียบ (arrector pili)
ในอดีตที่บรรพบุรุษของมนุษย์มีขนปกคลุมร่างกายอยู่มาก กล้ามเนื้อส่วนนี้ช่วยให้พวกเขา “พองขน” จนดูตัวใหญ่และน่าเกรงขามกว่าความเป็นจริง หรือเพื่อช่วยให้ร่างกายรักษาความร้อนเอาไว้ในสภาพอากาศหนาวเย็น
แต่ปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีขนตามลำตัวน้อยลง กล้ามเนื้อส่วนนี้ทำให้เราเกิดเพียงอาการขนลุกเมื่อมันมีอาการหดตัวจากสิ่งเร้า
“เมื่อเราเริ่มมีขนน้อยลง ปฏิกิริยานี้จึงไร้ประโยชน์ ถึงขั้นที่มันไม่ได้ทำหน้าที่ดั้งเดิมตามธรรมชาติของมัน” ดร.อามีร์ กล่าว
6. หัวนมผู้ชาย
ทารกในครรภ์เพศชายและหญิง มีพัฒนาการแบบเดียวกันในช่วงแรก โดยหัวนมของเด็กชายพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ก่อนที่ฮอร์โมนจะเริ่มทำงานและกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย