น้ำท่วมปอด: เกิดขึ้นจากอะไร อันตรายแค่ไหน

วัณโรค 4 อาการเฝ้าระวัง

สาเหตุของน้ำท่วมปอด ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากไม่สามารถปั๊มเลือดที่รับมาจากหัวใจห้องขวาออกไปได้ ทำให้มีปริมาณเลือดในหัวใจห้องขวาเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกระทั่งล้นไปท่วมปอดนั่นเอง นอกจากนี้ภาวะน้ำท่วมปอดยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคปอดบวม ปอดอักเสบ การสัมผัสกับสามารถผิดบางอย่าง การบาดเจ็บที่ การออกกำลังกายมากเกินไป การอยู่ในพื้นที่มีระดับความสูงมาก

สาเหตุที่ทำให้หัวใจล้มเหลว แบ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ

  1. กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว
  2. ลิ้นหัวใจล้มเหลว

อาการภาวะน้ำท่วมปอด แบ่งเป็น 3 ลักษณะอาการ ดังนี้

1. ภาวะน้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลัน (Acute pulmonary edema symptoms)

หากมีอาการใดๆ ของอาการดังกล่าวควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน

อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา

2. ภาวะน้ำท่วมปอดเรื้อรัง (Chronic pulmonary edema symptoms)

  • มีอาการหายใจถี่ขึ้นมากกว่าปกติเมื่อมีการออกกำลังกาย หรือมีการใช้งานทางร่างกาย
  • หายใจลำบากกับกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก
  • หายใจลำบากเมื่อนอนราบกับพื้น
  • หายใจดังเสียงฮืดๆ
  • ตื่นในเวลากลางคืนด้วยอาการหายใจหอบเหมือนหายใจไม่ทัน อาจบรรเทาอาการได้โดยการลุกขึ้นนั่ง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีภาวะน้ำท่วมปอดที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจล้มเหลว, ภาวะที่หัวใจปั๊มเลือด

ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากการสะสมของเหลวในร่างกายโดยเฉพาะที่ขาทำให้ขาบวม

  • อาการบวมตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อสะโพก (Lower Extremities)
  • มีอาการเมื่อยล้า

3. ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง (High-altitude pulmonary edema symptoms)

  • มีภาวะการณ์หายใจสั้นหลังจากมีการออกแรง ซึ่งจะพัฒนาอาการเป็นหายใจถี่ขึ้นขณะนั่งพัก
  • อาการไอ
  • มีปัญหาในการเดินขึ้นเขา หรือเดินขึ้นเนิน
  • มีไข้
  • ไอมีเสมหะเป็นฟอง และอาจปนเลือดออกมาด้วย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการใจสั่นอย่างรวดเร็ว
  • มีความรู้สึกไม่สบายเจ็บหน้าอก
  • มีอาการปวดหัว ซึ่งอาจแสดงเป็นอาการแรกของภาวะน้ำท่วมปอดจากการอยู่ในที่สูง

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด ?

อาการบวมน้ำเฉียบพลันเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิต ควรได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนหากมีอาการเฉียบพลัน

ดังต่อไปนี้

  • มีภาวะการณ์หายใจสั้น โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นทันทีทันใด
  • มีปัญหาในการหายใจ หรือรู้สึกหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
  • มีเสมหะเป็นสีชมพู เป็นฟองเมื่อมีอาการไอ
  • หายใจลำบาก และมีเหงื่อออกมาก
  • ผิวมีโทนสีฟ้า หรือสีเทา
  • ความดันโลหิตลดลง ทำให้เกิดอาการวิงเวียน เวียนหัว อ่อนเพลีย หรือมีเหงื่อออก
  • มีอาการใดๆ ที่เลวร้ายลงอย่างเฉียบพลันเกี่ยวกับอาการน้ำท่วมปอดแบบเรื้อรัง และจากการอยู่ในพื้นที่สูง

ภาวะแทรกซ้อนของอาการน้ำท่วมปอด

หากมีภาวะน้ำท่วมปอดอย่างต่อเนื่องจะทำให้ความดันโลหิตสูงในปอด และในที่สุดหัวใจห้องขวาจะอ่อนลงและค่อยๆ ล้มเหลวซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ตามมา

– อาการท้องบวมและอาการบวมตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อสะโพก

– มีการสะสมของเหลวในเยื่อหุ้มรอบๆ ปอด เรียกว่า ภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือ ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด

– มีเลือดคั่งในตับและ ตับมีอาการบวม

การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของภาวะน้ำท่วมปอด

– ควบคุมความดันโลหิต

– ตรวจคลอเรสในเลือดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

– ไม่สูบบุหรี่

– รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ

– จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทานในแต่ละวัน

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

– การจัดการกับความเครียด

– รักษาน้ำหนักเพื่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผลไม้สด ผักและผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำจากนม

ลดการรับประทานเกลือ และเครื่องดื่มแอลกฮอล์

[Total: 1 Average: 4]

Leave a Reply