กระจกตาอักเสบ – แผลที่กระจกตา

กระจกตาอักเสบ  มักเกิดจากการติดเชื้อได้แก่ เชื้อไวรัส (ที่พบบ่อย คือ เริม งูสวัด ไวรัสอะดิโน หัด) แบคทีเรีย (เช่น สเตรปโตค็อกคัส สแตฟีโลค็อกคัส สูโดโมแนส ริดสีดวงตา วัณโรค โรคเรื้อน ซิฟิลิส) เชื้อรา (เช่น แคนดิดา แอสเปอร์จิลลัส) เชื้อโปรโตชัว (เช่น acanthamoeba ซึ่งมีอยู่ในน้ำสกปรก)

กระจกตา (ตาดำ) อาจเกิดการอักเสบหรือเป็นแผลได้ เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราวในคนทุกวัย บางครั้งอาจรุนแรงถึงขึ้นทำให้สายตาพิการหรือตาบอดได้

สาเหตุ กระจกตาอักเสบ

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะตาแห้ง (มักเกิดจากต่อมน้ำตาสร้างน้ำตาไม่ได้ บางรายอาจเกิดจากภาวะผิดปกติขอสารประกอบของน้ำตาที่ทำให้ระเหยง่ายหรือพบร่วมกับโรคภูมิต้านตนเอง เช่น เอสแอลอี โรคปวดข้อรูมาตอยด์) การถูกแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต การระคายเคืองจากการใช้เลนส์สัมผัสหรือยา หยอดตา การแพ้ยาและกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห็นสัน ภาวะขนตาเก (ขนตาแยงเข้าด้านในถูถูกกระจกตา)ผิดกระจกตาแห้งเนื่องจากปิดหนังตาไม่มิด (เช่น อัมพาต ภาวะตาโปนใน โรคคอพอกเป็นพิษ แผลกระจกตา มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือโปรโตชัว (เช่น acanthamoeba) ภายหลัง กระจกตาได้รับบาดเจ็บ (เช่น ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดสิ่งแปลกปลอมเข้าไปฝังที่กระจกตา) หรือจากการใช้เลนส์สัมผัสที่ไม่ถูกวิธี (เช่น ใส่เลนส์สัมผัสขณะนอนหลับใส่เลนส์สัมผัสที่แปดเปื้อนเชื้อ หรือแช่ในน้ำยาที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการฆ่าเชื้อ) หรือจากการติดเชื้อไวรัส (ที่สำคัญ คือ เริม และงูสวัด)

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากกระจกตามีภูมิคุ้มกันต่ำ(เช่น การใช้ยาหยอดตาสตีรอยด์นาน ๆ) โรคขาดวิตามินเอ หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงตา เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน และกระจกตาอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ 

อาการ กระจกตาอักเสบ

ในระยะที่กระจกตามีการอักเสบหรือเป็นแผลใหม่ ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา เคืองตา หรือรู้สึกคล้ายผงเข้า ตา กลัวแสง น้ำตาไหล ตาแดง ตามัว อาจมีขี้ตาสีเหลืองหรือเขียว

การป้องกัน กระจกตาอักเสบ

กระจกตาอักเสบหรือเป็นแผล จะมีอาการตาแดง หรือมีขี้ตาคล้ายเยื่อตาขาวอักเสบจากแบคทีเรียหรือไวรัสแต่จะมีอาการปวดตาเคืองตารุนแรงกว่า และมีอาการตาพร่าร่วมด้วย ควรซักถามอาการให้ละเอียด และตรวจดูกระจกตาว่ามีลักษณะขุ่นมัวหรือเป็นแผลหรือไม่ หากมีประวัติและอาการที่ชวนสงสัยว่าเป็นแผลกระจกตา ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด่วน

ควรหาทางป้องกันแผลกระจกตา ดังนี้

  • เมื่อพบว่าเป็นโรคเริมหรืองูสวัดที่บริเวณตาให้รีบส่งไปโรงพยาบาลเพื่อให้ยาต้านไวรัสรักษาโดยเร็ว
  • ระวังอย่าให้ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดตา หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ถ้าทำงานที่เสี่ยงต่อปัญหานี้ ควรสวมหน้ากากหรือแว่นตาป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาสตีรอยด์โดยไม่จำเป็น
  • ผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการใส่เลนส์ สัมผัสขณะนอนหลับ

การรักษา กระจกตาอักเสบ

หากสงสัย เช่น มีอาการตาแดง มีขี้ตา ร่วมกับอาการปวดตา เคืองตารุนแรง หรือตาพร่ามัว หรือพบร่วมกับโรคเริมหรืองูสวัดที่บริเวณรอบตา หรือมีประวัติ ได้รับบาดเจ็บที่ตาใช้ยาหยอดตาสตีรอยด์เป็นประจำ หรือใช้เลนส์สัมผัสควรส่งโรงพยาบาลด่วน ก่อนส่งควรใช้ยาป้ายตาปฏีชีวนะ เช่น โทบราไมซิน แล้วปิดตาด้วยผ้าก๊อซ

แพทย์จะตรวจหาสาเหตุโดยใช้เครื่องมือส่องตรวจตา ทำการย้อมสีด้วยวิธี  fluorescein staining และทำการตรวจหาเชื้อด้วยการย้อมเชื้อหรือเพาะเชื้อ และให้การรักษาตามสาเหตุ เช่นให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ยาต้านไวรัสในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือให้ยาฆ่าเชื้อราในรายที่เกิดจากเชื้อรา

นอกจากนี้อาจต้องให้ยาหยอดตาอะโทรพีน ชนิด 1% เช่นเดียวกับการรักษาโรคม่านตาอักเสบ ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนก็ให้การแก้ไข

ส่วนในรายที่การอักเสบทุเลาลงแล้ว แต่กลายเป็นแผลเป็น (ต้อลำไย) ทำให้สายตาพิการ แต่พบว่าประสาทตายังเป็นปกติดี อาจต้องทำการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (corneal transplantation) โดยตัดเอาส่วนที่เป็น แผลเป็นออกไปแล้วเอากระจกตาที่ปกติของผู้บริจาค มาใส่แทน จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับเห็นเหมือนปกติได้ (การผ่าตัดเปลี่ยนตา ก็หมายถึงการผ่าตัดชนิดนี้ ไม่ใช่หมาย ถึงเปลี่ยนลูกตาทั้งลูก ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้)

[Total: 2 Average: 4.5]