หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (อังกฤษ: ventricular tachycardia) หรือ V-tach, VT เป็นภาวะหัวใจเต้นเร็วชนิดหนึ่งที่มีจุดกำเนิดจังหวะเต้นหัวใจมาจากหัวใจห้องล่าง เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต อาจพัฒนาไปเป็นเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน หัวใจหยุด และอาจทำให้เสียชีวิตทันทีได้

สาเหตุ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

VT อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น เกิดก่อนหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อห้วใจ โรคลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ โรคเลือด หรือจากยาบางชนิด SVT มักเกิดจากความวิตกกังวล อ่อนล้า ดื่มกาแฟ เหล้า สูบบุหรี่มากไป มักเป็นร่วมกับหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้โดยการตรวจสรีรไฟฟ้าหัวใจ

อาการของ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

อาการของ VT รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิต ขณะที่ SVT ไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิตแต่ก่อปัญหาทางอารมณ์และร่างกายเมื่อเป็นบ่อยๆ และเป็นนาน ผู้ป่วย Tachycardia อาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหล่านี้ได้ เช่น

การรักษา หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

สามารถรักษาได้โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดความผิดปกติในหัวใจด้วยพลังงานวิทยุ (Catheter ablation) โดยไม่ต้องผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) มักได้รับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Cardioverter defibrillator, ICD) เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นเร็วมากให้กลับคืนสู่ปกติและป้องกันการตายกะทันหันด้วยโรคหัวใจ (Sudden Cardiac Death) โดยแพทย์อาจให้ยาร่วมกับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อรักษาภาวะ Tachycardia

เมื่อแพทย์โรคหัวใจวินิจฉัยว่าอาการใจสั่นเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของหัวใจเต้นผิดจังหวะ  โดยสามารถแบ่งการรักษาคร่าวๆ ออกเป็น 4 รูปแบบ ซึ่งคนไข้บางคนอาจจะได้รับการรักษาหลายรูปแบบควบคู่กันไป  คือ

1. รักษาด้วยยา เช่น  Beta-blockers, Calcium-channel blockers, or antiarrhythmic drugs (เช่น Amiodarone, Sotalol, Flecainide, Propafenone, Dronedarone, Dofetilide เป็นต้น)  ซึ่งยาแต่ละกลุ่มจะเหมาะกับโรคที่แตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงทางยาไม่เหมือนกัน

2. รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ  โดยเครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาดต่ำผ่านสายไฟไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยอัตราปกติ

3. รักษาด้วยเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Implantable Cardioverter Defibrillator : ICD) ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบบอันตราย (Malignant tachyarrhythmia) เช่น Ventricular Fibrillation : VF หรือ Ventricular Tachycardia : VT  ลักษณะการใส่เข้าไปในร่างการจะคล้ายกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) แต่เครื่อง ICD จะสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาดสูงเพื่อกระตุกหรือช็อคหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติอีกครั้ง

4. รักษาด้วยการจี้หัวใจ (Cardiac ablation)ป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือ เต้นผิดจังหวะ ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีขั้นสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจจะใส่สายเข้าไปในหัวใจผ่านทางเส้นเลือดดำ(และบางครั้งเส้นเลือดแดง) ที่ขาหนีบ เพื่อหาจุดหรือบริเวณที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ  แล้วทำการจี้รักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) 

[Total: 1 Average: 5]