บุหรี่ไฟฟ้า: แพทย์เตือนคนไม่สูบบุหรี่ อย่าริลองสูบ เสี่ยงโรคปอดเพิ่ม 4 เท่า

รามาฯเผยผลงานวิจัยม.ฟลอริดา ศึกษากลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน แต่มาสูบบุหรี่ฟฟ้าเป็นประจำทุกวัน พบเกิดโรคปอดเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ส่วนกลุ่มที่เคยสูบบุหรี่แบบธรรมดา แต่เลิกแล้ว และหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกวันพบเสี่ยงโรคปอดเฉลี่ย 2 เท่า ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยงานวิจัยโดยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในวารสาร Public Health Reports เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 คณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับการเกิดโรคปอด ได้แก่ ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น โดยใช้ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนสหรัฐอเมริกา หรือ Behavioral Risk Factor Surveillance System (BRFSS) ประจำปี 2559 ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 45,908 คน คณะวิจัยได้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคปอดและการสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยได้วิเคราะห์แยกประเภทตามการสูบบุหรี่แบบธรรมดา ได้แก่ กลุ่มที่ยังสูบบุหรี่แบบธรรมดา กลุ่มที่เคยสูบบุหรี่แบบธรรมดาแต่ปัจจุบันเลิกสูบแล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่แบบธรรมดามาก่อน ดร.พญ.เริงฤดี กล่าวว่า ผลการวิจัยที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่แบบธรรมดามาก่อนที่ปัจจุบันสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำทุกวันContinue reading "บุหรี่ไฟฟ้า: แพทย์เตือนคนไม่สูบบุหรี่ อย่าริลองสูบ เสี่ยงโรคปอดเพิ่ม 4 เท่า"

บุหรี่ไฟฟ้า: เตือนอันตราย! ไอระเหยกระทบสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เปิด ‘รายงานส่วนประกอบไอระเหยบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และผลกระทบต่อสุขภาพ ปีพ.ศ.2563’ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการวามรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวถึง ‘รายงานส่วนประกอบไอระเหยบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และผลกระทบต่อสุขภาพ ปีพ.ศ.2563’ ว่า นับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ ‘บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า’ เมื่อถูกกลุ่มผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้านำเสนอว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีควันจากการเผาไหม้จึงปลอดภัยกว่าบุหรี่ ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีของเหลวที่มีส่วนผสมของนิโคตินและสารเคมีอื่นๆ เมื่อมีความร้อนจะทำให้ของเหลวกลายเป็นไอระเหย ซึ่งส่วนประกอบหลักของบุหรี่ไฟฟ้า คือ 1) ‘โพรไพลิน ไกลคอล’ เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนที่ทำให้เกิด ‘ไอระเหยบุหรี่ไฟฟ้า’ เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะทำให้เกิดเลือดออกในโพรงจมูกได้ และเกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจตอนบน เมื่อใช้ในปริมาณที่มากและเป็นเวลานานจะเกิดอาการเป็นพิษทั้งระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการชัก 2) ‘นิโคติน’ เป็นสารเสพติดที่มีอานุภาพการเสพติดสูง เมื่อมีการสูดไอระเหยบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปนิโคตินจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือดและสมองภายใน 10 วินาที และผู้เสพบุหรี่ไฟฟ้ายังสามารถเพิ่มสารนิโคตินในการสูบแต่ละครั้งได้สูงกว่าบุหรี่ ซึ่งนอกจากการเสพติด นิโคตินยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดสมองหดตัวเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง 3) ‘สารปรุงรส’ เพื่อแต่งรสชาติ มีให้เลือกหลากหลาย ซึ่งอยู่ในของเหลวของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้สูบมีความพึงพอใจในรสชาติสำหรับผู้ที่สูบเป็นครั้งแรกโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น “ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้ายังส่งผลกระทบสุขภาพต่อระบบทางเดินหายใจและปอด โดยรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ New EnglandContinue reading "บุหรี่ไฟฟ้า: เตือนอันตราย! ไอระเหยกระทบสุขภาพ"

บุหรี่ไฟฟ้า: ระเบิดได้ เสี่ยงถึงตาย

ผศ.ดร. ศวรรยา  เลาหประภานนท์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับข้อคิดเห็นบุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันมีจำนวนเยาวชนใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะหลงคำชวนเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัยทางสุขภาพมากกว่าบุหรี่ธรรมดา สามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยเลิกบุหรี่ได้ แต่ในความเป็นจริง การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีรายงานว่าทำลายระบบทางเดินหายใจ ปอดได้อย่างฉับพลัน ที่เรียกว่าภาวะอิวาลี (EVALI ย่อมาจาก E-cigarette or Vaping Product Use-Associated Lung Injury) ซึ่งเป็นภาวะปอดอักเสบรุนแรงฉับพลัน โดยข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) เดือนพฤศจิกายน 2562 เผยว่ามีชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วยภาวะอิวาลีจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 48 ราย และป่วย 2,291 ราย ซึ่งในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นได้มีการพบผู้ป่วยภาวะดังกล่าวในประเทศไทยพบเป็นรายแรกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีรายงานการระเบิดของตัวอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ผู้สูบได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือตายจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าให้เห็นได้บ่อยขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่พบในการสูบบุหรี่แบบปกติ 1 การระเบิดของตัวบุหรี่ไฟฟ้านั้น สืบเนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามีการนำเอาวงจรอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่มาใช้ในการสร้างพลังงานความร้อนสำหรับการผลิตไอระเหยแทนการเผาไหม้ และการผลิตอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการดัดแปลงบุหรี่ไฟฟ้าใช้เองมีความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดระเบิดขึ้นได้ ขณะที่ผลการสำรวจในหลายๆ งานวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถระเบิดได้เองแม้ไม่ใช้ ความร้อนจากเปลวไฟ และสารเคมีลิเทียมไออนจากแบตเตอรี่ทำให้เกิดบาดแผลไหม้ลึกถึงชั้นหนังแท้ได้ เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งต้องทำการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ และพักฟื้นนานหลายสัปดาห์จนกว่าแผลหาย นอกจากนี้บางรายยังพบว่าเกิดระเบิดขณะเปิดสวิตซ์สูบบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลให้ผู้สูบได้รับบาดเจ็บบริเวณมือ ใบหน้าอย่างรุนแรง เกิดแผลฉีกขาดบริเวณปาก จมูกและฟันหัก บางรายเปลวไฟและเขม่าจากการระเบิดทำลายกระจกตาทำให้สูญเสียการมองเห็น รวมทั้งที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดคือแรงระเบิดทำให้บุหรี่ไฟฟ้าแตกกระจายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ทะลุผ่านช่องปาก กระเด็นไปถูกอวัยวะสำคัญในร่างกายทำให้เกิดการเสียเลือด ช็อค และเสียชีวิต ดังเช่น โศกนาฎกรรมบุหรี่ไฟฟ้าระเบิดที่ทำให้ชายชาวอเมริกัน 2 ราย ต้องเสียชีวิตจากการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า 2-3 จากข้อมูลข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นภัยคุกความทางสุขภาพใหม่ของประชาชนในปัจจุบัน แม้ว่าหลายประเทศได้มีประกาศควบคุมไม่ให้มีการผลิตหรือจำหน่ายอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ยังมีนายทุนอีกจำนวนไม่น้อยที่ลักลอบผลิตตัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาวางขายในตลาดมืด โดยมีสี ขนาด และรูปร่างที่หลากหลายเพื่อดึงดูดเยาวชน ดังนั้นเยาวชนหรือผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ต้องไม่หลงกลคำโฆษณา ไม่ริลองใช้บุหรี่ไฟฟ้า สำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายฉับพลันอีกทั้งสามารถเกิดการระเบิดได้ทุกที่ทุกเวลา

มะเร็ง: ข่าวปลอม จิบน้ำขมิ้นชันป้องกันได้

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจ้งเตือนข่าวปลอม “จิบน้ำขมิ้นชันป้องกันมะเร็ง” ชี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าน้ำ​ขมิ้น​ชันช่วย​ป้องกัน​มะเร็ง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์   กล่าวว่า  ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นเพียงผลวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานวิจัยที่ทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารนี้ช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็ง นอกจากนี้ การดื่มน้ำขมิ้นชันอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการป้องกันมะเร็ง หากประชาชนยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  กล่าวเสริมว่า  ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันมีหลายรูปแบบ เช่น เหง้าสด เหง้าแห้ง ผง แคปซูล ยาเม็ด ยาทาผิวหนัง และเครื่องดื่มชาขมิ้นชัน แม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทาน

ไข้ฉี่หนู: ระวัง ! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง เลี่ยงลุยหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน

 กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ระวังป่วยด้วยโรคไข้ฉี่หนู แนะหลี่กเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน เมื่อวันที่ 25 ส.ค. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และบางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ประชาชนต้องทำความสะอาดบ้านเรือน หรือต้องแช่น้ำหรือลุยน้ำเป็นเวลานาน สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคไข้ฉี่หนู เพราะเชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าทางบาดแผล รอยถลอก รวมถึงผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 สิงหาคม 2563 พบผู้ป่วย 805 ราย เสียชีวิต 12 ราย โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 45-54 ปี รองลงมาคืออายุ 35-44 ปี และอายุ 55-64 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตร ร้อยละ 42.9 รับจ้าง ร้อยละ 21.5 และนักเรียน ร้อยละ 13.8Continue reading "ไข้ฉี่หนู: ระวัง ! ช่วงฝนตกต่อเนื่อง เลี่ยงลุยหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน"

กินเจ: กรมอนามัย แนะยึด 4 ล. “ล้าง ลด เลี่ยง เลือก” สร้างสุขภาพดี

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจ 10 วัน ยึดหลัก 4 ล. "ล้าง ลด เลี่ยง เลือก” เพื่อสุขอนามัยที่ดี ได้โปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการ สร้างสุขภาพดีตามมา         วันนี้ (16 ตุลาคม 2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ "กินเจ อิ่มบุญ มือสะอาด สุขภาพดี วิถีใหม่” ณ ลานกิจกรรม Outlet Square เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร.สาธิต ปิตุเตชะ) ให้ความสำคัญต่อมาตรการคุมเข้มด้านสุขลักษณะและข้อกำหนดพื้นฐานของแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงช่วงเทศกาลกินเจนี้ พ่อค้าแม่ค้ามักมีการปรุงประกอบอาหารเจจำหน่ายเป็น จำนวนมาก การปรุงประกอบอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ถูกหลักโภชนาการ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ กรมอนามัยจึงแนะหลัก 4 ล. เพื่อสุขภาพที่ดีContinue reading "กินเจ: กรมอนามัย แนะยึด 4 ล. “ล้าง ลด เลี่ยง เลือก” สร้างสุขภาพดี"

เหล็กเกินในหัวใจ: นักวิจัยไทยเจ๋ง! พัฒนาวิธีตรวจ ไม่แพงไม่ซับซ้อน

นักวิจัยมช. พัฒนาวิธีตรวจภาวะเหล็กเกินในหัวใจ มุ่งผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียภาวะโลหิตจางรุนแรง เหตุเป็นกลุ่มมีเหล็กสะสมในร่างกายมาก ซึ่งรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ 2563 หัวใจที่มีปริมาณเหล็กเกินไม่ได้แข็งแรงเหมือนตึกที่เสริมเหล็ก เพราะภาวะเหล็กเกินนั้นทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ และอาจร้ายแรงถึงขั้นหัวใจล้มเหลว หากตรวจวัดภาวะเหล็กเกินได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แพทย์จะให้การรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด แต่อุปสรรคอยู่ที่ผู้มีภาวะเหล็กเกินในหัวใจปริมาณไม่มากมักไม่มีอาการบ่งชี้ ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการพัฒนาวิธีเพื่อตรวจภาวะเหล็กเกินในหัวใจโดยพุ่งเป้าไปที่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง เพราะเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยทำให้มีเหล็กสะสมในร่างกายมาก เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับเลือดที่เรียกว่า blood transfusion โดยได้ทำวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ กับภาวะเหล็กเกินในหัวใจในโรคธาลัสซีเมีย” ซึ่งได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภาวะเหล็กเกินในหัวใจ คือ ภาวะที่มีการสะสมของเหล็กในหัวใจ หากมีการสะสมของเหล็กมากเกินไป จะทำให้การทำงานของหัวใจเกิดความผิดปกติ และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด ซึ่งภาวะเหล็กเกินในร่างกายเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากภาวะผิดปกติทางพันธุกรรรมที่ทำให้กลไกการควบคุมสมดุลของเหล็กในร่างกายเสียไป โดยทำให้เกิดการดูดซึมกลับของเหล็กในทางเดินอาหารที่มากผิดปกติ หรืออีกสาเหตุเกิดจากภาวะที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดงแบบเรื้อรัง รวมถึงภาวะโลหิตจางจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย อีกทั้งยังพบได้ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคโลหิตจางแบบไม่ใช่โรคพันธุกรรม หรือการได้เหล็กเสริมทางเลือดมากเกินไปแต่กรณีหลังนี้เป็นสาเหตุที่พบไม่บ่อย อาการของผู้ที่มีภาวะเหล็กเกินในหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของเหล็กที่สะสมอยู่ในหัวใจ แต่ ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ให้ข้อมูลว่า โดยปกติแล้วอาการทั่วไปมักไม่สามารถบ่งบอกได้Continue reading "เหล็กเกินในหัวใจ: นักวิจัยไทยเจ๋ง! พัฒนาวิธีตรวจ ไม่แพงไม่ซับซ้อน"

หวัดแดด สีแสดๆ

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยๆ สลับกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว อาจเป็น #หวัดแดด ซึ่งเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไป ร่วมกับการเจออากาศที่ร้อนจัด หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้ป่วยได้ อาการของ #หวัดแดด มีไข้ไม่สูงมาก ตาแดงปวดศีรษะอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัวปากแห้ง คอแห้ง แสบคอคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่ค่อยหลับท้องเสีย

COVID-19: สธ. พร้อมเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองสิทธิวัคซีนโควิดผ่านไลน์-แอปฯ “หมอพร้อม” ปลาย พ.ค.นี้

กระทรวงสาธารณสุขเผยกระจายวัคซีน 8 แสนโดส 1 เม.ย.แล้ว ขณะที่ล็อต 1 ล้านเข้ามาวันที่ 10 เม.ย. พร้อมฉีด 16-17 เม.ย. พร้อมชวนประชาชนใช้ไลน์ออฟฟิสเชียล “หมอพร้อม” และเตรียมเปิดแอปพลิเคชัน 1 พ.ค.ในระบบแอนดรอยด์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมการกระจายวัคซีนโควิดทั่วประเทศ พร้อมใช้ไลน์ออฟฟิสเชียล “หมอพร้อม” ในการติดตามข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด19 ว่า สำหรับสถานการณ์โควิดขณะนี้ ถือว่าเป็นระดับที่ควบคุมได้ ซึ่งมีลักษณะการติดเชื้อประปรายเป็นรายวัน แต่ไม่มีการแพร่ระบาดรุนแรง ประกอบกับมีการสั่งซื้อวัคซีน 2 ชุดใหญ่ โดยชุดแรกจากซิโนแวคจากจีน 2 ล้านโดส และจากแอสตราเซเนกา 61 ล้านโดส และเมื่อเดือนมี.ค. 2 แสนโดส ปัจจุบันฉีดได้จนครบถ้วนตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาได้มาอีก 8 แสนโดส และวางแผนกระจาย 1 เม.ย.นี้ และอีก 1 ล้านโดสจะมาประมาณวันที่Continue reading "COVID-19: สธ. พร้อมเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองสิทธิวัคซีนโควิดผ่านไลน์-แอปฯ “หมอพร้อม” ปลาย พ.ค.นี้"

รวมโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลก World’s Best Specialized Hospitals 2021 ทั้ง 5 ประเภทโดย Newsweek

ตลอด 9 ปีที่ผ่านมาทาง Newsweek ได้จัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับทาง Statista Inc ผู้นำด้านการวิจัยการตลาดระบบโลก โดยปีนี้มีการเพิ่มในส่วนโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลก (World's Best Specialized Hospitals) เพื่อเจาะลึกมากขึ้นซึ่งมีการแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักคือ โรคหัวใจโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ และมีการเพิ่มเข้ามาอีก 3 สาขาในปีนี้คือ โรคระบบประสาทโรคระบบทางเดินอาหารโรคกระดูก แต่ล่ะประเภทจะมีการจัด 50 อันดับด้วยคะแนนและตั้งแต่ 51 ขึ้นไปจัดเรียงตามตัวอักษร 5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคหัวใจ WORLD’S BEST SPECIALIZED HOSPITALS 2021: HEART โดย NEWSWEEK RankHospitalDepartmentCityCountry1Cleveland ClinicMiller Family Heart, Vascular & Thoracic InstituteCleveland, OHUnited States2Mayo Clinic - RochesterDepartment of Cardiovascular MedicineRochester, MNUnited States3Brigham AndContinue reading "รวมโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลก World’s Best Specialized Hospitals 2021 ทั้ง 5 ประเภทโดย Newsweek"

COVID-19: สธ.พบอาการโควิดระลอกใหม่ “ตาแดง-ผื่นขึ้น”

กระทรวงสาธารณสุข เผยโควิดระลอกเมษายน มีผู้ติดเชื้อแล้ว 2,795 ราย เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง 1,016 ราย ใน 40 จังหวัด พบตาแดง ผื่นขึ้นในผู้ติดเชื้อหลายราย เตือนผู้ไปเที่ยวผับบาร์หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ ย้ำสงกรานต์ลดกิจกรรม ใส่หน้ากาก ไม่ไปสถานที่เสี่ยง วันที่ 10 เมษายน 2564 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า สถานการณ์โควิดขณะนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด เชื่อมโยงสถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ ที่มีผู้ติดเชื้อรวม 1,016 ราย ระบาดข้ามจังหวัดไปใน 40 จังหวัด  ปัจจัยเสี่ยงคือคนหนุ่มสาวที่ติดเชื้อไปเที่ยวสถานบันเทิงหลายแห่งในคืนเดียว รวมทั้งเมื่อกลับภูมิลำเนาก็ไปเที่ยวสถานบันเทิงอีก ทำให้แพร่กระจายมาก ร่วมกับสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่รวดเร็วขึ้น จากการตรวจผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแต่มีเชื้อในลำคอจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้ไม่ได้รุนแรงขึ้น ยาที่ใช้ในการรักษายังมีประสิทธิภาพ และไม่กระทบกับวัคซีน โดยที่อังกฤษซึ่งเป็นต้นกำเนิดการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ายังสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้   “จากการสังเกตอาการผู้ติดเชื้อจากสถานบันเทิง พบหลายรายมีอาการตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ บางรายมีผื่นขึ้น ดังนั้นหากผู้ที่ไปเที่ยวสถานบันเทิงมีอาการเหล่านี้ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนรพ.เอกชนถ้าอยู่ร่วมโครงการของContinue reading "COVID-19: สธ.พบอาการโควิดระลอกใหม่ “ตาแดง-ผื่นขึ้น”"

COVID-19: กรมการแพทย์ออกคำแนะนำดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 สำหรับสถานพยาบาล

กรมการแพทย์ออกคำแนะนำดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 สำหรับสถานพยาบาล หากรักษา กักตัว ครบ 14 วันแต่ยังมีอาการควรให้อยู่ต่อจนไม่มีอาการอย่างน้อย 24 - 48 ชม.  เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564 กรมการแพทย์ได้ออกคำแนะนำในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 สำหรับสถานพยาบาล โดยมีเนื้อหาระบุว่าตามสถานการณ์การระบาดผู้ป่วยโรคโควิด 19 ระลอกเดือนเมษายน พ.ศ 2564 พบผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น ทั้งกรณีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว แต่อาจพบเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ อยู่ในน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย ระยะเวลาประมาณ 14 วันหลังจากเริ่มป่วย จากผลการศึกษาวิจัยMulticenter clinical trial study ของกรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลในเครือข่ายวิจัย ได้ชี้แจงข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้ ในผู้ป่วย 95 รายจาก 150 รายในช่วงเดือนเมษายนพ.ศ 2564 พบว่าเป็นผู้ป่วยสายพันธุ์ B 1.1.7 อาการดีขึ้นหลังระยะเวลา 10 วัน แต่ยังพบค่าตรวจ rt-pcr ค่อนข้างสูง(ctน้อยกว่า 27) ทั้งนี้การศึกษาวิจัยนี้ยังคงดำเนินการเก็บข้อมูลและวิจัยต่อไปContinue reading "COVID-19: กรมการแพทย์ออกคำแนะนำดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 สำหรับสถานพยาบาล"

COVID-19: เภสัชกร อีกวิชาชีพบทบาทกับการสู้วิกฤติ

ประธานชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนบอกเล่าการปฏิบัติงานสู้โควิด-19 ของเภสัชกรทั่วประเทศที่ร่วมทำงานกับหลากหลายวิชาชีพด้านสาธารณสุข เพื่อร่วมป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขหลากหลายวิชาชีพ ต้องปฏิบัติงานเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคในระดับต่างๆ เภสัชกร ก็เป็นอีกหนึ่งในหลากหลายวิชาชีพที่ทำงานตรงนี้ ภก.ทรงวุฒิ สารจันทึก ประธานชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เล่าถึงบทบาทของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในภาครัฐช่วงวิกฤตของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ว่า ในช่วงแรกของการระบาดนั้นโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศต้องรับมือกับสภาวะการขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก เภสัชกรต้องรับภาระและเป็นศูนย์กลางในการจัดการปัญหาด้านการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น และร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาในระดับหน่วยงาน โรงพยาบาล และพื้นที่ เภสัชกรเป็นทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ( EOC ) โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการทรัพยากร อาทิ ในการเป็นผู้จัดหาและจัดเตรียมแอลกอฮอล์ที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค แอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือ หน้ากากอนามัย สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มารับบริการ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในชุมชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เภสัชกรของหลายหน่วยงานต้องใช้ความพยายามจัดหาแอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค รวมถึงต้องจัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือ ในช่วงวิกฤตท่ามกลางสถานการณ์ที่ขาดแคลนแม้กระทั่งสารเคมีที่จะนำมาจัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในบางรายการ แต่ก็ต้องหาทางปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เพื่อให้มีสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ นอกจากนั้นยังต้องบริหารจัดการยา ได้แก่ การจัดเตรียมและตรวจสอบยาสำหรับส่งให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในรายที่ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ามารับยาที่โรงพยาบาล ติดตามปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงวางแผนการจัดหายาโรคเรื้อรังในภาวะที่ยาโรคเรื้อรังจากการขาดแคลนวัตถุดิบในระดับประเทศที่โรงงานผลิตยาต้องใช้ในการผลิตยาโรคเรื้อรัง ในระดับชุมชนและท้องถิ่น เภสัชกรต้องสนับสนุนด้านความรู้ให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถจัดหาและจัดเตรียมทรัพยากรจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือ การจัดเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆที่สามารถจัดหาได้ในขณะนั้น เพื่อใช้ล้างทำความสะอาดสถานที่สาธารณะตามจุดต่างๆที่เป็นจุดเสี่ยง เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสContinue reading "COVID-19: เภสัชกร อีกวิชาชีพบทบาทกับการสู้วิกฤติ"

COVID-19: รายใหม่พุ่งถึง 1,335 รายครั้งแรกเดือน เม.ย. หนำซ้ำพบติดเชื้อในครอบครัวเพิ่ม!

อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โควิดทั่วโลกพุ่งสูง ขณะที่ไทยติดเชื้อรายใหม่วันนี้ถึง 1,335 ราย เหตุเชื้อสายพันธุ์อังกฤษแพร่เร็ว พบเชื่อมโยงสถานบันเทิงผับบาร์ คนวัยทำงาน นักศึกษานำเชื้อกลับภูมิลำเนา กลับครอบครัว นำแพร่เชื้อพ่อแม่ผู้สูงอายุ เตือนขอให้เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะคนเที่ยวสวมใส่หน้ากากอนามัย ลดกิจกรรม สังเกตอาการ หลังสงกรานต์ขอ Work from Home อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 14 เม.ย.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด19 ว่า ขณะนี้การระบาดทั่วโลกอยู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอินเดีย พบติดเชื้อวันเดียวสูงขึ้นถึง 185,248 ราย ตอนนี้เป็นอันดับหนึ่ง บราซิล สหรัฐอเมริกาเริ่มระบาดมากขึ้นเห็นชัดเจน โดยผู้ติดเชื้อทั่วโลกสะสมถึง 138,013,074 ราย ซึ่งรอบวันที่ผ่านมาสูงถึง 735,486 ราย แล เสียชีวิตสะสม 2,971,864 ราย  สำหรับประเทศไทยตัวเลขติดเชื้อสูงถึง 1,335 รายเป็นครั้งแรก ขณะที่เพื่อนบ้านไทย อย่างกัมพูชาContinue reading "COVID-19: รายใหม่พุ่งถึง 1,335 รายครั้งแรกเดือน เม.ย. หนำซ้ำพบติดเชื้อในครอบครัวเพิ่ม!"

5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคกระดูก World’s Best Specialized Hospitals 2021: Orthopedics โดย Newsweek

RankHospitalDepartmentCityCountry1Hospital For Special SurgeryOrthopedic CareNew York, NYUnited States2Mayo Clinic - RochesterDepartment of Orthopedic SurgeryRochester, MNUnited States3Charité - Universitätsmedizin BerlinCentrum für Muskuloskeletale ChirurgieBerlinGermany4Helios ENDO-Klinik HamburgOrthopädieHamburgGermany5Severance Hospital - Yonsei UniversityDepartment of Orthopedic SurgerySeoulSouth Korea 5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคหัวใจ WORLD’S BEST SPECIALIZED HOSPITALS 2021: HEART โดย NEWSWEEK 5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคมะเร็ง World's Best Specialized Hospitals 2021: Oncology โดย Newsweek 5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคต่อมไร้ท่อ WORLD’S BESTContinue reading "5 โรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในโลกด้านโรคกระดูก World’s Best Specialized Hospitals 2021: Orthopedics โดย Newsweek"