- เชื้อโรค
ขั้นตอนการปลูก ขนส่งหรือเก็บรักษาที่ไม่ดี อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา (Salmonella) และเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน และอาหารเป็นพิษได้ - สารฟอกขาว
สารฟอกขาวเป็นวัตถุเจือปนที่มักพบมากในถั่วงอก สาเหตุมาจากผู้ขายต้องการให้ถั่วงอกดูขาวสะอาด ไม่มีรอยช้ำ สดใหม่ และน่ารับประทานมากขึ้น
หากร่างกายได้รับสารฟอกขาวในปริมาณมาก สารฟอกขาวก็จะตกค้างอยู่ในร่างกายและจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการหายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง สำหรับผู้ที่แพ้อย่างรุนแรงหรือป่วยเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดอาการช็อค หมดสติและอาจเสียชีวิตได้
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด จึงควรเลือกซื้อถั่วงอกที่ดูไม่ขาวเกินไปหรือมีรอยช้ำบ้างเล็กน้อย ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารฟอกขาวเข้าสู่ร่างกายมากเกินขนาด - สารไฟเตท (Phytate)
สารไฟเตทเป็นสารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในถั่วงอกดิบ แต่จะมีปริมาณลดลงหลังจากการปรุงสุก สารไฟเตทนั้นมีคุณสมบัติยับยั้งการดูดซึมโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือแมกนีเซียมได้ ดังนั้น การทานถั่วงอกดิบจำนวนมากและต่อเนื่องหลายวัน อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ลดลง
ข้อแนะนำในการทานถั่วงอกให้ปลอดภัย - เลือกซื้อถั่วงอกที่ไม่ขาวสะอาดจนเกินไป
- ควรล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนนำมาประกอบอาหาร เช่น ล้างให้สะอาดโดยล้างผ่านน้ำที่ไหล หรือแช่ด่างทับทิม
- ไม่ควรกินถั่วงอกดิบมากจนเกินไป
เนื่องจากถั่วงอกดิบมีกรดไฟติกสูงมาก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื่องจากกรดชนิดนี้จะไปแย่งจับแคลเซียมในเลือดได้ แต่หากอยากทานควรนำไปต้มหรือทำให้สุกก่อน
[Total: 6 Average: 4.8]