โรคเลือดออกในสมอง

โรคเลือดออกในสมอง คือ โรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 – 3 เท่า จากตัวเลขที่มีการศึกษากันในหลายประเทศพบว่า ในประชากร 1 แสนคน จะมีผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองประมาณ 10-20 รายต่อปี  หมายถึง ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 6,000-12,000 รายต่อปีเลยทีเดียว

โรคเลือดออกในสมอง จัดเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคสมองขาดเลือด สาเหตุหลักมาจากภาวะความเสื่อมของหลอดเลือดสมองจากอายุที่มากขึ้นร่วมกับโรคประจำตัว  ที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน  ภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่อง รวมถึงการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวบางชนิด แต่ในปัจจัยทั้งหลาย  อายุที่มากขึ้นร่วมด้วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน  ยังคงเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้  

สาเหตุ เลือดออกในสมอง

สาเหตุของเลือดออกในสมองที่พบบ่อยได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง เพราะความดันสูงไม่มีอาการอะไร ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองส่วนหนึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง
  • อุบัติเหตูที่ศีรษะ คนอายุน้อยกว่า 50 ปีเลือดออกในสมองมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ
  • Arteriovenous malformation (AVM) เป็นผิดปรกติแต่กำเนิดหลอดเลือดดำฝองต่อกับหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดดำฝอยแตก
  • หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm ซึ่งอาจจะเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือเป็นความพิการแต่กำเนิด
  • ความผิดปรกติของผนังหลอดเลือด Amyloid angiopathy
  • โรคเลือดเช่น โรคฮีโมฟีเลีย, sickle cell anemia
  • โรตตับซึ่งเลือดจะออกง่าย
  • เนื้องอกสมอง
  • รับประทานยาต้านเลือดแข็ง

อาการ โรคเลือดออกในสมอง

จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เลือดออก ขนาดของก้อนเลือดและสาเหตุ    มีอาการดังนี้

การรักษา โรคเลือดออกในสมอง

โรคเลือดออกในสมอง ไม่มีวิธีการรักษาใดจะดีกว่าการป้องกัน กล่าวคือ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องระวังควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้เคร่งครัด ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่  โรคนี้นับเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดอันตราย  การมีความรู้ความเข้าใจจึงมีความสำคัญครับ

การรักษาเลือดออกในสมองในระยะฉุกเฉิน

ต้องทำแข่งกับเวลาเพื่อช่วยชีวิต ลดความพิการที่จะเกิดขึ้น โดยมีการรักษาดังนี้

  1. รักษาตามอาการ ด้วยการใช้ยา
  2. ผ่าตัดเจาะระบายน้ำในสมอง ทำในกรณีเกิดน้ำคั่งในสมองร่วมหรือเพื่อวัดและลดความดันในสมอง
  3. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ นำเลือดในสมองออกลดสมองบวม และแก้ไขสาเหตุที่เลือดออก
  4. การอุดรอยรั่วของโรค ซึ่งไม่ต้องมีแผลผ่าตัด สามารถทำได้โดยการอุด
    • ขดลวด กรณีเส้นเลือดโป่งพอง
    • กาว กรณีเส้นเลือดขอด

การรักษาต่อเนื่องหลังพ้นภาวะฉุกเฉิน

  1. การทำกายภาพบำบัด โดยจำเป็นต้องฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
  2. การดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะภาวะน้ำคั่งในสมอง หรือชัก
  3. การป้องกันการเกิดซ้ำ โดยหมั่นวัดความดันโลหิต  เบาหวาน  ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดสูบบุหรี่  งดนอนดึก งดเครียดทั้งกายและใจ
[Total: 4 Average: 5]