โรคลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Disease: IBD) คือ โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผนังบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร โดยอาการอักเสบที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดปนออกมา ทั้งนี้เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผนังลำไส้ที่มีเกิดการอักเสบนั่นเอง

เป็นกลุ่มโรคที่มีการอักเสบบริเวณทางเดินอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

  • Crohn’s disease
    มีการอักเสบได้ทุกส่วนของทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้อง น้ำหนักลด ซีด
  • Ulcerative Colitis ลำไส้ใหญ่อักเสบ
    มีการอักเสบเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่  มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและ ถ่ายเป็นเลือด

สาเหตุ โรคลำไส้อักเสบ

- เกิดจากพิษของแบคทีเรีย โดยที่ไม่มีการรุกรานทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive) ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาจทำให้ถ่ายมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน และทำให้เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง

- เกิดจากการรุกรานทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย (Invasive) อาการของโรคเกิดจากการทำลายผนังของลำไส้ ทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น

- เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นสาเหตุของการท้องเสียที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่ปัจจุบันพบโรคนี้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่มากขึ้น ได้แก่ Rota visus, Adenovirus หรือ Norovirus ทำให้มีอาการท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดตามตัว เป็นต้น

อาการ โรคลำไส้อักเสบ

  • ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง เนื่องจากลำไส้บีบตัว
  • อาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหัน ถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง
  • อาจมีมูก หรือเลือดปนมากับอุจจาระในบางรายอาจมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยได้
  • คลื่นไส้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • นอกจากอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น

การรักษา โรคลำไส้อักเสบ

 มีอยู่ 4 กลุ่มทางเลือกด้วยกัน คือ

เป้าหมายหลักที่สำคัญของการรักษาคือการบรรเทาอาการของโรค (เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง การเสียเลือดทางอุจจาระ) อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น (เช่น ฝี ฝีคัณฑสูตร) และป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้ สิ่งสำคัญ คือ การงดสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่งดสูบบุหรี่ได้จะทำให้การเกิดกลับเป็นซ้ำของโรคลดลงร้อยละ 60 ภายในช่วงเวลา 2 ปี

อาหารไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิด IBD แต่มีส่วนทำให้อาการของโรคแย่ลงขณะที่มีอาการกำเริบ เป้าหมายของภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วย IBD จึงอยู่ที่การจัดการแบบแผนการบริโภคอาหารเพื่อลดอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ในขณะเดียวกันก็รักษาระดับสารอาหารที่จำเป็นเอาไว้ แพทย์จะประเมินสภาวะทางโภชนาการเพื่อดูว่าผู้ป่วยได้รับปริมาณพลังงาน วิตามิน และเกลือแร่เพียงพอหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทอาหารเหลว เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]