สมองขาดเลือด

ภาวะสมองขาดเลือด คือ มีสาเหตุจากการอุดตันของเส้นเลือด หรือมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ สมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาทีก็จะทำให้เซลล์สมองตาย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น

สาเหตุ สมองขาดเลือด

  • มีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ผู้ชายมีสถิติเป็นภาวะนี้บ่อยกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า
  • มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 25 ร่วมกับมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง หรือ 40 นิ้วในผู้ชาย
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันและเกลือในปริมาณมาก
  • รับประทานยาคุมกำเนิดบางชนิด
  • ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก สูบบุหรี่ ติดสารเสพติดอย่างโคเคน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งเคยเป็นหรือกำลังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ลิ่มเลือดอุดตัน มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงแคโรติดอาเทอรี ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่อยู่บริเวณคอและมีหน้าที่นำเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมอง หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจติดเชื้อ หัวใจพิการ หัวใจล้มเหลว หรือเบาหวาน เป็นต้น
  • มีระดับสารโฮโมซิสเตอีนในเลือดสูง ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดความเสียหายของหลอดเลือดแดง แต่การตรวจหาระดับของสารนี้ยังไม่ใช่แนวทางที่เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัย TIA

อาการ ภาวะสมองขาดเลือด

อาการของ TIA ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง

ทั้งนี้ เราสามารถ สรุปเป็นหลักให้จำง่ายๆ ได้ด้วยคำว่า "FAST" ซึ่งมี ความหมายดังนี้

  1. (F) FACE หมายถึง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  2. (A) ARM หมายถึง แขน ขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก
  3. (S) SPEECH หมายถึง การพูดผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดช้า พูดไม่ได้
  4. (T) TIME หมายถึง การให้ความสำคัญกับเวลาที่นำผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้

การรักษา สมองขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจะเป็นแนวทางการรักษที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะมีแนวทางการรักษาดังนี้
    • การให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อช่วยเปิดหลอดเลือดให้หายอุดตัน เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อีก ระยะเวลาที่ทำให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ได้มีเวลาสำหรับการวินิจฉัยและการพิจารณาข้อจำกัดของการให้ยา ถ้าหากผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทันเวลา จะสามารถลดอัตราความพิการและอัตราการตายได้มาก
    • การให้ยาป้องกันลิ่มเลือด เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือดในอนาคต ป้องกันการเป็นซ้ำ
  2. ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากสาเหตุหลอดเลือดสมองแตก มีแนวทางการรักษาดังนี้
    • หยุดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย
    • ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง
    • ถ้าหากก้อนเลือดมีขนาดใหญ่มาก แพทย์จะผ่าตัดเพื่อลดการกดเบียดของเนื้อสมอง
[Total: 2 Average: 5]