ม้ามโต คือ อาการที่ม้ามมีความผิดปกติจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง จนทำให้มีอาการบวมโต จนอาจจะใหญ่มากเกินไปจนไปเบียดอวัยวะอื่นๆ และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ม้าม เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายถั่วแดง อยู่ทางด้านหลังข้างซ้ายของช่องท้อง ใต้กะบังลม และซี่โครง ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ ดึงเอาฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาใช้ในร่างกาย และยังนำเอาของเสียในรูปแบบของเหลวออกมาจากเลือดด้วยเช่นกัน (ออกมาพร้อมปัสสาวะ) นอกจากนี้ม้ามยังสร้างแอนตี้บอดี้ในการต่อต้านเชื้อโรค และผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย
สาเหตุ ม้ามโต
- โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับมีระบบไหลเวียนเลือดระบบเดียวกับม้าม เมื่อตับมีความผิดปกติจึงส่งผลเกิดความผิดปกติที่ม้ามด้วย
- โรคเลือด เช่น โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ภาวะที่มีเม็ดเลือดแตก เนื่องจากตับและม้ามเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมาก จึงส่งผลให้ตับม้ามมีขนาดโตขึ้นด้วย
- เกิดการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งม้ามก็มีบทบาทในการกำจัดเชื้อโรค
- เป็นโรคออโตอิมมูน หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง ทำให้เซลล์ในร่างกายถูกกำจัดจำนวนมาก
- เส้นเลือดดำในตับอุดตัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของตับและม้ามผิดปกติ
- เป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการ ม้ามโต
หากคุณมีอาการดังกล่าว และเป็นผู้มีความเสี่ยง จากการเป็นผู้ป่วยโรคต่างๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น อาจสันนิษฐานได้ว่า มีอาการม้ามโต
- อึดอัด แน่นท้อง
- หายใจเข้าออกลำบาก หายใจไม่สะดวก
- ตัวซีด มีรอยเลือดจ้ำๆ เป็นห้อเลือดจุดๆ ตามร่างกาย
- แขน และขาอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เหนื่อยง่าย
- เริ่มเป็นโรคอื่นๆ ตามมา เพราะภูมิคุ้มกันลดลง เป็นโรค และติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย
การรักษา ม้ามโต
การรักษาด้วยตนเอง
การหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะและการสวมเข็มขัดนิรภัยเมื่อนั่งรถยนต์อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดม้ามแตกได้ การได้รับวัคซีนตามเวลาอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
มองหาการดูแลทางการแพทย์
ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้
รู้สึกปวดบริเวณท้องด้านซ้ายบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการรุนแรงหรือแย่ลงเมื่อหายใจลึกๆ