“การนอนไม่หลับ” เป็นภาวะที่บั่นทอนสุขภาพของคนเราและส่งผลกระทบทั้งการเรียน การทำงาน รวมถึงคุณภาพชีวิต การนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุ หลายคนนอกจากประสบปัญหาการนอนไม่หลับแล้ว ยังมีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอันเนื่องมาจากการอุดกั้นอีกด้วย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ปัจจุบันความผิดปกติจากการนอนหลับ เช่น อาการนอนกรน นอนไม่หลับ หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติขณะนอนหลับ พบมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อค้นหาโรคซ่อนเร้น
โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ
- Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
- Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า
นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ
- Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์ เช่น ความเครียด, การเจ็บป่วย, ปัญหาวิตกกังวล, สถานที่นอนหรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเมื่อปัจจัยที่กล่าวไปหายไปอาการนอนไม่หลับก็มักกลับมาปกติ
- Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) ผู้ป่วยจะมีภาวะนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์และเป็นมาอย่างน้อย 3 เดือน
สาเหตุ นอนไม่หลับ
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก
2. อาการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อย เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ มีอาการไอ
3. ความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้าและท้อแท้ หมดกำลังใจ หมดหวังในการใช้ชีวิต คิดว่าตัวเองไร้ค่า ยึดติดและอยู่กับตัวเองมากเกินไป
4. แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดนั้นอาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ
5. ท้องว่าง ทำให้เกิดอาการอึดอัด หิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป จนทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่หลับ
6. ภาวะการนอนหลับ เช่น การนอนละเมอ ฝันร้าย หรือนอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย
7. หน้าที่การงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ เช่น พยาบาล ยาม
7 สาเหตุการนอนไม่หลับ และเคล็ดลับวิธีแก้ไข
อาการ นอนไม่หลับ
เชื่อว่าหลายๆคนมีอาการผิดปกติที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ เช่น รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา ในช่วงที่ไม่ใช่เวลานอน หรือเมื่อถึงเวลานอนกลับหลับยาก ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลียง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจผิดและกังวลใจว่าเป็นอาการของโรคร้ายแรงอื่นๆ
โดยปกติร่างกายของคนเราต้องการระยะเวลาในการนอนหรือพักผ่อนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและพันธุกรรม เมื่อคุณภาพของการนอนไม่สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งหากเราเป็นโรคนอนไม่หลับร่างกายก็จะเริ่มส่งสัญญาณบ่งบอก ดังนี้
- ขอบตาหมองคล้ำ
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า โดยไม่ทราบสาเหตุ
- อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย เหวี่ยงวีน โดยไม่มีเหตุผล
- ง่วงนอนตลอดเวลาและงีบหลับระหว่างวันบ่อยๆ
- หน้าตาอิดโรย ไม่สดชื่น ผิวหน้ามองคล้ำ ผิวพรรณไม่สดใส
- สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนงง ขาดสมาธิในการทำงาน และการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
การป้องกันอาการนอนไม่หลับ
- เข้านอนให้เป็นเวลาปรับพฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา ไม่งีบหลับระหว่างวัน ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจส่งพลให้ตัวเองเกิดความวิตกกังวล
- ดื่มน้ำอุ่นๆ ก่อนนอน พยายามผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวหลังมื้อเที่ยง เช่น กาแฟ หรือชา และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้หลับยาก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักช่วงก่อนนอน การออกกำลังอาจจะช่วยให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น แต่ช่วงเวลาที่คุณออกกำลังกายนั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการนอนได้ด้วยเช่นกัน เพราะหากออกำลังกายในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้นไปอีก
- พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
ปัญหาการนอนไม่หลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แน่นอนว่าจะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาสาเหตุให้พบ และทำการป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง
การรักษา นอนไม่หลับ
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุอาการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องแยกให้ได้เสียก่อนว่ามาจากสาเหตุใด หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย