กุ้งยิง คือ ตุ่มฝีเล็กๆ ที่เกิดที่ของเปลือกตา ซึ่งอาจพบได้ที่เปลือกตาบนแลล่าง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
บางครั้งต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตาอาจมีการอุดตันของรูเปิดเล็กๆ ทำให้มีเนื้อเยื่อรวมตัวอยู่ภายในต่อม กลายเป็นตุ่มนูนแข็งไม่เจ็บปวดอะไร เรียกว่า ตาเป็นซิสต์ (chalazion) บางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปให้เกิดอักเสบ คล้ายเป็นกุ้งยิงชนิดหัวหลบใน ได้เมื่อหายอักเสบตุ่มซิสต์ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม
กุ้งยิง เกิดจากต่อมเหงื่อหรือต่อมไขมันที่โคนขนตามีอาการอุดตัน และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่ เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส เป็นส่วนใหญ่ จนกลายเป็นตุ่มฝีขึ้นมามักเริ่มจากการมีฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าตา แล้วใช้มือที่ไม่สะอาดขยี้ตา ทำให้ต่อมที่เปลือกตาอุดตันและอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย จะพบมากในเด็กอายุ 4 - 10 ปี
ปัจจัยที่เสริมให้เป็นกุ้งยิงได้ง่าย เช่น
มีอาการปวดที่เปลือกตา มีลักษณะปวดตุบๆ เฉพาะที่จุดใดจุดหนึ่ง เวลาก้มศีรษะต่ำกว่าระดับเอว จะปวดมากขึ้น และพบว่าบริเวณนั้นขึ้นเป็นตุ่มแข็ง แตะถูกเจ็บ ต่อมาค่อยๆ นุ่มลง บางครั้งมีหนองนูนเป่ง เห็นเป็นหัวขาวๆ เหลือง ๆ โดยมากจะขึ้นเพียงตุ่มเดียว อาจเป็นที่เปลือกตาบนหรือล่างก็ได้ น้อยคนอาจเกิดพร้อมกัน 2 – 3 ตุ่ม บางครั้งอาจมีอาการเปลือกตาบวม หรือมีขี้ตาไหล
ถ้ากุ้งยิงขึ้นที่บริเวณหางตามักจะมีอาการรุนแรงอาจทำให้หนังตาบวมแดงจนตาปิด
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ 4 - 5 วันต่อมา ตุ่มฝีมักจะแตกเองแล้วหัวฝีจะยุบลงและหายปวด ถ้าหนองระบายได้หมดก็จะยุบหายไปภายใน 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยที่เคยเป็นกุ้งยิงมาครั้งหนึ่งแล้ว อาจจะมีอาการกำเริบเป็นๆ หาย ๆ อาจเป็นตรงจุดเดิมหรือย้ายที่หรือสลับข้างไปมาได้
1. เมื่อเริ่มขึ้นเป็นตุ่มฝีใหม่ๆซึ่งเป็นตุ่มแข็งยังไม่หลัดหนองให้การรักษาดังนี้
2. ถ้าตุ่มฝีเป่งเห็นหัวหนองชัดเจน ควรสะกิดหรือผ่านระบายหนองออก แล้วให้กินยาปฏิชีวนะดังกล่าวข้างต้น
3. ถ้าเป็นๆ หายๆ บ่อยซึ่งชวนสงสัยว่าอาจมีภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เช่น เบาหวาน สายตาผิดปกติ เป็นต้น ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด