ซาร์คอยโดซิส

ซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) เป็นโรคที่เกิดจากมีการอักเสบชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/ อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย แต่อวัยวะที่พบเกิดบ่อยคือที่ ”ปอด” ทั้งนี้ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อการอักเสบนี้โดยการสร้างเป็นก้อนเนื้ออักเสบที่ไม่ใช่มะเร็งขึ้นในอวัยวะนั้นๆ เรียกก้อนเนื้อนี้ว่า แกรนูโลมา(Granuloma)

ซาร์คอยโดซิส เป็นโรคยังไม่มีรายงานเกิดในประเทศไทย แต่พบได้บ่อยในสหรัฐอมริกา โดยเฉพาะในคนผิวดำ ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีรายงานพบโรคนี้ได้ 11-34รายต่อประชากร 1แสนคน พบในผู้หญิงประมาณ 2 เท่าของผู้ชาย โรคนี้พบได้ทุกอายุ แต่พบสูงในช่วงอายุ 25-35 ปี และช่วง 45-65 ปี

อนึ่ง เมื่อเกิดโรคที่ปอด (ที่พบบ่อยที่สุด) สามารถแบ่งโรคนี้ตามความรุนแรงได้เป็น 4 ระยะจากน้อยไปหามาก คือ

  • ระยะ0: เอกซเรย์ปอดปกติ
  • ระยะที่1: เอกซเรย์ปอดพบต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดทั้ง 2ข้าง -ระยะที่2: เอกซเรย์ปอดพบต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดทั้ง 2ข้าง ร่วมกับมีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด/ปอดอักเสบ
  • ระยะที่3: พบเฉพาะมีการอักเสบของปอด อาจพบที่ปอดข้างเดียว หรือ ทั้ง 2 ข้าง
  • ระยะที่4: เกิดมีพังผืดรุนแรงในปอด

สาเหตุ ซาร์คอยโดซิส

สาเหตุของโรคซาคอยโดซิสยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากสมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติของโรคนี้มาก่อน และได้รับการกระตุ้นจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ฝุ่นละออง หรือสารเคมี จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองมากผิดปกติ ทำให้เกิดกลุ่มเซลล์อักเสบ (Granulomas) ขึ้นที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจนทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นผิดปกติ

นอกจากนี้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซาร์คอยโดซิสอาจเกี่ยวข้องกับเพศ อายุ และเชื้อชาติ โดยมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สามารถพบได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และพบได้น้อยในเด็ก รวมถึงผู้ที่มีเชื้อชาติแอฟฟริกันและอเมริกัน หรือยุโรปตอนเหนือ อาจมีโอกาสเป็นโรคซาร์คอยโดซิสได้สูงขึ้น

อาการ ซาร์คอยโดซิส

ผู้ป่วยโรคซาร์คอยโดซิสบางคนค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่บางคนมีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการมักจะตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคนี้เมื่อเข้ารับการตรวจเอกซเรย์จากปัญหาหรืออาการอื่น 

อาการและอาการแสดงของโรคซาร์คอยโดซิสมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากโรค เมื่อเกิดโรคซาร์คอยด์ขึ้นในอวัยวะอื่นๆ นอกจากปอด คุณอาจมีอาการต่อไปนี้ได้

การรักษา ซาร์คอยโดซิส

เมื่อคุณมีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตาแดง ตามัว หัวใจเต้นผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือรู้สึกเจ็บคอ รักแร้ และขาหนีบ พร้อมกับปวดข้อมือ ข้อเท้า และกระดูกส่วนอื่น ๆ ติดต่อกันนาน ๆ โปรดเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยด่วน เพื่อให้แพทย์ทำการ เอกซเรย์ทรวงอก ทดสอบการหายใจ ตรวจหลอดลม และนำเนื้อเยื่อไปตรวจอย่างละเอียด

หากผลการตรวจสอบออกมาว่าคุณมีกลุ่มเซลล์อักเสบของ โรคซาร์คอยโดซิส แพทย์จะทำการรักษาให้ทันทีตามอาการ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • การรับประทานยา ยาส่วนใหญ่ที่แพทย์กำหนดนั้น เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยากดภูมิคุ้มกัน ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) และสารยับยั้งการก่อตัวของเซลล์ (Tumor necrosis factor-alpha)
  • กายภาพบำบัด ควบคู่ไปกับการรับประทานยา เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด กระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องกระตุ้น ช่วยลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
  • ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ การที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัด อาจต้องผ่านการตรวจสอบแล้วว่าอวัยวะภายในที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ หากเป็นเช่นนั้น วิธีปลูกถ่ายอวัยวะอาจเป็นทางออกเดียวที่แพทย์แนะนำ
[Total: 0 Average: 0]