ไข้หวัด

ไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนในปีแรก ๆ อาจเป็นเฉลี่ย ประมาณเดือนละครั้ง ทำให้ต้องสูญเสียแรงงาน เวลาเรียนและสิ้นเปลืองเงินทองไปปีละมาก ๆทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด มีอยู่มากกว่า 200 ชนิด ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูก และคอ) ครั้งละชนิดเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลงไป

โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการอยู่ใกล้ชิด กัน จึงพบเป็นกันมากตามโรงเรียน โรงงาน และที่ ๆ มีคนอยู่รวมกลุ่มกันมาก ๆ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนในฤดูร้อนจะพบน้อยลง

อุณหภูมิร่างกายโดยเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ 37°C (98.6°F) เพิ่มขึ้นชั่วคราว

มองหาการดูแลทางการแพทย์ไปพบแพทย์ทันทีหากบุตรหลานมีอาการดังต่อไปนี้

  • อายุน้อยกว่า 3 เดือน และมีไข้ 38°C (100.4°F) ขึ้นไป
  • อายุ 3-6 เดือน และมีไข้ 38.9°C (102°F) ขึ้นไป
  • อายุ 6-24 เดือน และมีไข้ 38.9°C (102°F) ขึ้นไป นานกว่า 1 วัน
  • อายุ 2 ปีขึ้นไป มีไข้ เซื่องซึม ฉุนเฉียวง่าย หรืออาเจียนซ้ำๆ
  • หรือเป็นผู้ใหญ่และมีไข้ 39.4°C (103°F) ขึ้นไป

สาเหตุ ไข้หวัด

เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นไวรัส ( virus ) มีอยู่มากกว่า 200 ชนิดจากกลุ่มไวรัส 8 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มไวรัส ที่สำคัญ  ได้แก่ กลุ่มไวรัสไรโน ( rhinovirus ) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด นอกนั้นก็มีกลุ่มไวรัสโคโรนา ( corona- virus ) กลุ่มไวรัสอะดีโน (adenovirus ) กลุ่มอาร์เอสวี( respiratory syncytial virus/RSV ) กลุ่มไวรัสพารา- อินฟลูเอนซา ( parainfluenza virus ) กลุ่มเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ( influenza virus ) กลุ่มไวรัสเอนเทอโร ( enterovirus) กลุ่มเชื้อเริม ( herpes simplex virus ) เป็นต้น การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วร่างกายก็จะมีภูมิคุ้นกันต่อ เชื้อหวัดชนิดนั้น ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็จะเกิดจาก  

เชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ ผู้ป่วยไอหรือจามรด ภายในระยะไม่เกิน
1 เมตร ซึ่งจัด ว่าเป็นการแพร่กระจายทางละอองเสมหะที่มีขนาดใหญ่( droplet transmission )

นอกจากนี้ เชื้อหวัดยังอาจติดต่อโดยการสัมผัส  กล่าวคือ เชื้อหวัดอาจติดที่มือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่อง ใช้ ( เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม ของเล่นหนังสือ โทรศัพท์ เป็นต้น ) หรือสิ่งแวดล้อม เมื่อคน ปกติสัมผัสถูกมือของผู้ป่วยหรือสิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อหวัด เชื้อหวัดก็จะติดมือของคน ๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื้อ ก็จะเข้าสู่ร่างกายของคน ๆ นั้น จนกลายเป็นไข้หวัดได้

ระยะฟักตัว ( ระยะตั้งแต่ผู้ป่วยรับเชื้อเข้าไปจนกระทั้งมีอาการเกิดขึ้น ) 1-3 วัน

อาการ ไข้หวัด

มีไข้เป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวด หนักศีรษะเล็กน้อย เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกใส จาม ไข้หวัดอาจติดต่อโดยการสัมผัส

คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ เล็กน้อย ลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณ ลิ่นปี่เวลาไอ ในเด็กเล็กอาจมีอาเจียนเวลาไอ

  • ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใสไหล
  • ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมี ไข้สูงและชัก
  • ในทารกอาจมีอาการอาเจียน หรือท้องเดินร่วมด้วย
  • ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีไข้เกิน 4 วัน หรือมีน้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียวเกิน 24 ชั่วโมง หรือไอมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว

สิ่งตรวจพบ

ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบทอนซิลโต แต่ไม่แดงมาก และไม่มีหนอง

การป้องกัน ไข้หวัด

  1. ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาและป้องกันไข้หวัดอย่างได้ผล การรักษาอยู่ที่การพักผ่อนและการปฏิบัติ ตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ยาที่ใช้ก็เป็นเพียงยาที่รักษา ตามอาการเท่านั้น โดยทั่วไปอาการตัวร้อนมักจะเป็นอยู่ ประมาณ 3 - 4 วัน ถ้าเกิน 4 วัน มักแสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย  แทรกซ้อน หรืออาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยบางรายถึงแม้จะหายตัวร้อนแล้ว แต่ก็อาจมีน้ำมูกและไอต่อไปได้ บางรายอาจไอโครก ๆ อยู่เรื่อยอาจนานถึง 7-8 สัปดาห์ เนื่องจากเยื่อบุทางเดินหายใจถูก ทำลายชั่วคราว ทำให้ไวต่อสิ่งระคายเคือง (เช่น ฝุ่น ควัน) มักจะเป็นลักษณะไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็น สีขาว ถ้าพบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ ไม่ต้องให้ยาอะไรสิ้น ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ (ควรงดดื่ม น้ำเย็น ถ้าดื่มแล้วทำให้ไอมากขึ้น)
  2. ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ แก่ผู้ป่วยที่ เป็นไข้หวัดทุกราย ยกเว้นในรายที่สงสัยจะมีภาวะแทรกซ้อนเท่านั้น
  3.  ผู้ที่เป็นไข้หวัด ( ซึ่งมีอาการตัวร้อนร่วมด้วย) เรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ ประจำอาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจรั่วมาแต่กำเนิด ทาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางอะพลาสติก โรคขาดอาหาร เป็น ต้น จึงควรตรวจดูว่ามีสาเหตุเหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่ หากสงสัยควรแนะนำไปโรงพยาบาล 
  4. เด็กเล็กที่เพิ่งฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ เข้าโรงเรียนในช่วง 3-4 เดือนแรก อาจเป็นไข้หวัดได้ บ่อย เพราะติดเชื้อหวัดหลากชนิดจากเด็กคนอื่น ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเรื่อย ๆ ควรตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วนถ้าไม่พบมีความผิดปกติ และเด็กมีพัฒนาการดี ก็ควรอธิบายให้พ่อแม่เด็กเข้าใจ ควรมียาลดไข้พาราเซตามอล ไว้ประจำบ้านให้เด็กกินเวลาตัวร้อน ส่วนยาอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องให้ อย่ากินยาปฏิชีวนะ (ซึ่งชาวบ้านทั่วไป เข้าใจว่าเป็นยาแก้อักเสบ)โดยไม่จำเป็น ควรสงวนไว้ใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้จริง ๆ เท่านั้น (การใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่ออาจก่อโทษต่อร่างกาย เช่น ทำให้เชื้อโรคดื้อยา ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกาย เป็นต้น) ควรดูแล เรื่องอาหารการกิน หมั่นชั่งน้ำหนักตัว พอพ้น 3-4 เดือน อาการก็จะเป็นห่างไปเอง เนื่องจากร่างกายเริ่มมีภูมิคุ้ม กันต่อเชื้อหวัดมากชนิดแล้ว
  5. ผู้ที่เป็นหวัดและจามบ่อย ๆ โดยไม่มีไข้ มักเกิด จากการแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือละอองเกสร มากกว่าที่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 
  6. ผู้ที่มีอาการไข้และมีน้ำมูก แต่ตัวร้อนจัดตลอด เวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยทุเลา มักจะไม่ใช่เป็นไข้หวัด ธรรมดา แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น หัด ปอดอักเสบ หรือทอนซิลอักเสบ ควรตรวจดูอาการของ  โรคเหล่านี้อย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่ในระยะแรกอาจแสดงอาการคล้ายไข้หวัดได้ เช่น ไข้ เลือดออก ไอกรน คอตีบ โปลิโอ ตับอักเสบจากไวรัส ไทฟอยด์  สมองอักเสบไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น จึงควรติดตามดูอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่ามีไข้นานเกิน 7 วัน หรือมีอาการผิดไปจากไขหวัดธรรมดา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
  7. อย่าซื้อหรือจ่ายยาชุดแก้หวัดที่มีคลอแรมเฟนิ-คอลเตตราไซคลีนหรือเพร็ดนิโซโลนผสมอยู่ด้วย นอกจากจะไม่จำเป็นแล้วยังอาจมีอันตรายได้
  8. เมื่อเป็นหวัด ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก เพราะอาจทำให้เชื้อลุกลามเข้าหูและโพรงไซนัส ทำให้เกิดการ อักเสบแทรกซ้อนได้
  9. สำหรับเด็กเล็ก อย่าซื้อยาแก้หวัดแก้ไอสูตร ผสมต่าง ๆ กินเอง เพราะอาจมีตัวยาเกินความจำเป็น จนอาจเกิดพิษได้ แม้แต่ยาแก้แพ้ แก้หวัด นอกจากจะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรแล้ว ยังอาจมีผลข้างเคียงต่อเด็กเล็กได้ ในการรักษากันเองเบื้องต้น ควรใช้ยาลดไข้ พาราเซตามอลเพียงชนิดเดียวจะปลอดภัยกว่า

การรักษา ไข้หวัด

การรักษาด้วยตนเอง ยารักษาโรค เช่น พาราเซตามอลและไอบูโพรเฟน อาจช่วยลดอาการปวดได้ หลีกเลี่ยงการให้แอสไพรินแก่เด็กเนื่องจากอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงและพบได้ยาก

เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส  จึงไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้การรักษาไปตามอาการเท่านั้น ได้แก่

1. แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้                  

  • พักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนักหรือ ออกกำลังกายมากเกินไป         
  • สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าถูกฝน หรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดไข้ และทดแทนน้ำ ที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
  • ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม  น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ
  • ใช้ผ้าชุบน้ำ (ควรใช้น้ำอุ่น หรือน้ำก๊อก ธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลามีไข้สูง

2. ให้ยารักษาตามอาการดังนี้
ก.  สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี)
                • ถ้ามีไข้ ให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้เอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์
ชินโดรม       
                • ถ้ามีอาการน้ำมูกไหลมากจนสร้างความ รำคาญ ให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ใน 2-3 วันแรก เมื่อทุเลาแล้วควรหยุดยา หรือกรณีที่มี อาการไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยานี้
                •  ถ้ามีอาการไอ จิบน้ำอุ่นมาก ๆ หรือจิบ 
             ข.  สำหรับเด็กเล็กและทารก
                •  ถ้ามีไข้ให้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม                     
                • ถ้ามีน้ำมูกมาก ให้ใช้ลูกยางเบอร์ 2 ดูดน้ำมูกบ่อย ๆ (ถ้าน้ำมูกข้นเหนียว ควรใช้น้ำเกลือหยอดในจมูกก่อน) หรือใช้กระดาษทิชชูพันเป็นแท่งสอดเข้าไปเช็ดน้ำมูก (ถ้าน้ำมูกข้นเหนียว ควรชุบน้ำสุก หรือน้ำเกลือพอชุ่มก่อน)
                • ถ้ามีอาการไอจิบน้ำอุ่นมาก ๆ หรือจิบน้ำ - ผึ้งผสมมะนาว ถ้ามีอาการอาเจียนเวลาไอ ไม่จำเป็นต้อง  ให้ยาแก้อาเจียน ควรแนะนำให้ป้อนนมและอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนจะเข้านอน
3. ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องให้ เพราะไม่ได้ผลต่อการฆ่าเชื้อหวัดซึ่งเป็นไวรัส (อาการที่สังเกตได้คือ มีน้ำมูกใส ๆ หรือสีขาว) ยกเว้นในรายที่สงสัยว่าจะมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เช่น มีไข้ทุกวันติดต่อกันเกิน 4 วัน มีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเหลืองหรือสีเขียวเกิน 24 ชั่วโมง หรือปวดหู หูอื้อ ยาปฏิชีวนะ ให้เลือกใช้เพนิชิลลินวี อะม็อกชีชิลลิน ในรายที่แพ้แพนิชิลลินให้ใช้อีริ-  ไทรไมซิ หรือร็อกชิโทรไมซินแทน ควรให้นาน 7-10 วัน
4. ถ้าไอมีเสมหะเขียว ให้งดยาแก้แพ้ และ ยาระงับการไอและให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ วันละ 10- 15 แก้ว
5. ถ้ามีอาการหอบ หรือนับการหายใจได้เร็วกว่า ปกติ (เด็กอายุ 0-2 เดือนหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที อายุ 2 เดือนถึง 1 ปี หายใจมากกว่า 50 ครั้ง/นาที อายุ 1-5 ปี หายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที หรือมีไข้นานเกิน 7 วัน ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว อาจเป็นปอดอักเสบ หรือภาวะรุนแรงอื่น ๆ ได้ อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เป็นต้น
6. ในเด็กถ้ามีอาการชักร่วมด้วย ดูเรื่อง “ชักจากไข้
7. ถ้าสงสัยเป็นไข้หวัดนก เช่น มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วัน หรืออยู่ใน  พื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วัน ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

โรคที่เกี่ยวกับ ไข้หวัด

ไข้หวัดใหญ่

การติดเชื้อไวรัสที่พบได้ทั่วไปซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง การแสดงอาการ:

  • ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ขาดน้ำ

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

การติดเชื้อในลำไส้ซึ่งอาการรวมถึง ท้องเสีย ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ การแสดงอาการ:

โรคลมแดด

ภาวะที่มักเกิดในสภาพแวดล้อมที่ร้อนซึ่งอุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างเป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการสับสนหรือหมดสติ การแสดงอาการ:

  • ไข้
  • ความเมื่อยล้า
  • ผิวแดง

สเตรปโธรท

การติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เจ็บหรือคันคอ การแสดงอาการ:

ข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงข้อต่อบริเวณมือและเท้า การแสดงอาการ:

[Total: 1 Average: 5]