หัดเยอรมัน

หัดเยอรมัน (หัด 3 วัน) คือ โรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบอัตราป่วยสูงสุดในช่วงอายุ 15-24 ปี มีอาการไข้และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด ส่วนในบ้านเรามีชื่อเรียกกันอีกชื้อหนึ่งว่า เหือด

โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้าเป็นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไป มักหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ที่สำคัญคือ ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้ทารกพิการ แท้ หรือตายในครรภ์ได้

โรคนี้พบประปรายตลอดทั้งปี อาจติดต่อกันในหมู่คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยตามบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน พบระบาดได้น้อยกว่าหัดและอีสุกอีใส

สาเหตุ หัดเยอรมัน

เกิดจาก เชื้อหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า รูเบลลา (rubella) เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายและสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสหะที่ผู้ป่วยไอ จามรด หรือโดยการสัมผัสมือ สิ่งของเครื่อง

ระยะฟักตัว 14-21 วัน

อาการ หัดเยอรมัน

คือ ผื่นขึ้นทั่วตัวคล้ายหัด ในเด็กเล็กมักกันทันที (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีควรฉีดอิมมูนโกลบูลิน ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานร่วมด้วย และฉีดวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุ 15 เดือน)

          เด็กอายุเกิน 1 ปี และสัมผัสมานานเกิน 5 วัน ควรฉีดวัคซีนและอิมมูนโกลบูลิน (immuneglobulin) และฉีดวัคซีนซ้ำในอีก 5 เดือนต่อมามีผื่นขึ้นโดยไม่มีอาการไม่สบายอย่างอื่นที่เด่นชัดมาก่อน บางรายอาจมีน้ำมูกหรือถ่ายเหลวเล็กน้อยก่อนผื่นขึ้น

ในเด็กโตและผู้ใหญ่ เริ่มแรกอาจมีอาการไม่สบายเพียงเล็กน้อย (เช่น ไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตา เจ็บคอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาจมีอาการแบบไข้หวัด (มีไข้ น้ำมูก ไอ ปวดเมื่อย) ซึ่งอาการจะเป็นอยู่ 1-5 วันก่อนผื่นขึ้นและทุเลาเมื่อมีผื่นขึ้นแล้ว

ผื่นมีลักษณะเป็นผื่นราบสีชมพู ขนาดเล็ก ๆ มักไม่แผ่รวมเป็นแผ่นแบบหัด โดยเริ่มขึ้นที่หน้า (ชายผม รอบปาก ใบหู) แล้วกระจายลงมาตามคอ แขน ลำตัวและขา อย่างรวดเร็วภายใน1-3 วัน ผื่นที่ขึ้นในแต่ละแห่ง มักจะจางหายภายใน 24 ชั่วโมง โดยเรียงลำดับจากหน้าลงมาที่ขา เมื่อผื่นที่หน้าเริ่มจางหาย ผื่นที่ลำตัวบางครั้งอาจแผ่รวมกันเป็นแผ่นใหญ่ขึ้น ผื่นจะจางหายไปทั้งหมดภายในเวลาประมาณ 3 วัน (ฝรั่งเรียกว่า หัด 3 วัน หรือ three-day measles)โดยไม่ทิ้งรอยผื่นสีคล้ำหรือหนังลอกแบบหัด ยกเว้นในรายที่เป็นผื่นมากอาจลอกแบบขุยละเอียด โดยทั่วไปมักไม่มีอาการคัน นอกจากในผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการคันเล็กน้อยได้ บางรายอาจเป็นหัดเยอรมันโดยไม่มีผื่นขึ้นก็ได้ แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้

สิ่งที่ตรวจพบ หัดเยอรมัน

ผื่นรายสีชมพู ขนาดเล็ก กระจายอยู่ตามหน้า คอ ลำตัว แขนขา อาจมีไข้ 37.5-38.5 องศาเซลเซียล (บางครั้งอาจไม่มีไข้) หรือ ตาแดงเล็กน้อย ในระยะก่อนผื่นขึ้น หรือวันแรกที่ผื่นขึ้น อาจตรวจพบจุดแดงขนาดเท่าปลายเข็มที่เพดานอ่อน มักเป็นอยู่ เพียง 24 ชั่วโมง ที่สำคัญซึ่งบ่งชี้ถึงลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ มีต่อมน้ำเหลืองโต (คลำได้เป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำ) ตรงหลังหู หลังคอ ท้ายทอย และข้างคอทั้ง 2 ข้าง ซึ่งอาจโตอยู่นานหลายสัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อน หัดเยอรมัน

1. ที่สำสำคัญคือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อหัดเยอรมันแพร่จากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะไตรมาสแรก อาจทำให้เกิดการแท้งหรือการตายคลอด (stillbirth หรือการคลอดทารกที่ตายในครรภ์) ส่วนทารกที่รอดชีวิต จะเกิดความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่า โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (congenital rubella) ซึ่งมักจะมีความผิดปกติหลายอย่างร่วมกัน ที่พบบ่อยได้แก่ ทารกเจริญเติบโตช้า (น้ำหนักแรกเกิดน้อย) ต้อกระจก (พบได้1ใน 3 ของทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด อาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้าง) จอประสาทตาพิการ (retinopathy) นัยน์ตาเล็ก (microphthalmia) หูหนวก (มักเป็น 2 ข้าง) หัวใจพิการ (ได้แก่ patent ductus arteriosus) ปัญญาอ่อน ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ตับโต ม้ามโต นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติที่อาจพบได้แต่ไม่บ่อย เช่น ต้อหิน ศีรษะเล็กผิดปกติ ผนังหัวใจรั่ว (ได้แก่ ASD,VSD) ซีด ดีซ่าน ตับอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งบางอย่างอาจทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้   

          โอกาสเสียงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ขึ้นกับอายุครรภ์ขณะติดเชื้อหัดเยอรมัน มีรายงานว่า ถ้าแม่เป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ 2 เดือนแรก พบทารกผิดปกติถึงร้อยละ 60-85 ถ้าแม่เป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์เดือนที่ 3 พบทารกผิดปกติประมาณ1ใน 3 

2. ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในคนทั่วไปที่เป็นหัดเยอรมัน มีดังนี้
     - ข้ออักเสบ 1 ข้อ หรือหลายข้อ มักพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งมักจะหายได้เอง

     - สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1ใน 6,000พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก มักเกิดหลังผื่นขึ้น 2-4 วัน (บางรายอาจเกิดพร้อมผื่นขึ้น) มีอัตราตายถึงร้อยละ 20-20

     - อื่น ๆ เช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (อาจทำให้มีภาวะเลือดออก) ประสาทตาอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ ตับอักเสบ เยื่อบุหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น

การป้องกัน หัดเยอรมัน

  1. ควรแยกผู้ป่วยอย่าให้คลุกคลีกับคนอื่นจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ (ระยะติดต่อตั้งแต่ 5 วันก่อนผื่นขึ้นจนกระทั่ง 6 วัน หลังจากผื่นเริ่มขึ้น)
  2. ควรอธิบายให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า โรคนี้ไม่ใช้โรคร้ายแรงที่เกิดกับคนทั่วไป ความรุนแรงมีน้อยกว่าหัด แต่ที่สร้างปัญหา คือ ส่วนที่เกิดกับหญิงตั้งครรภ์อ่อนๆ (ภายในระยะ 3 เดือน) ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์

การรักษา หัดเยอรมัน

  1. สำหรับหัดเยอรมันที่พบในเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป (ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์) ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้  พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสียงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม ถ้าข้ออักเสบให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ถ้าคันทายาผดผื่นคัน โดยทั่วไปมักจะหายภายใน 3-5วัน หรือ ประมาณ1สัปดาห์
  2. ถ้าสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น สมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะตกเลือด เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วนในการยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้ อาจกระทำโดยการทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อตรวจหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อหัดเยอรมัน หรือการตรวจเพาะเชื้อจากจมูกและคอหอย
  3. ถ้าพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการไข้และมีผื่นขึ้นหรือสงสัยเป็นหัดเยอรมัน หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหัดเยอรมัน ควรแนะนำไปโรงพยาบาล แพทย์มักจะเจาะเลือดตรวจ เพื่อทำการทดสอบทางน้ำเหลือง ซึ่งอาจต้องตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง

ถ้าพบว่าเป็นหัดเยอรมัน สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ส่วนครรภ์ในระยะเดือนที่ 7-9 ทารกมักจะปลอดภัยส่วนครรภ์ในระยะเดือนที่ 4-6 ทารกอาจมีโอกาสพิการได้น้อยกว่า 3 เดือนแรก แพทย์จะตัดสินใจเป็นราย ๆ ว่าจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์หรือไม่

ในรายที่ไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ แพทย์อาจพิจารณาฉีดอิมมูนโกลบูลินแก่ผู้ป่วย วิธีนี้แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของซากในครรภ์ แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงของโรคที่เกิดกับทารกได้

[Total: 1 Average: 5]