ตาเข

ตาเข (ตาเหล่ ตาเอก ก็เรียก) คือ อาการที่ตา 2 ข้างไม่อยู่แนวตรง ตาดำข้างใดข้างหนึ่งมีการเข (เฉียง) เข้าด้านใน (ทางหัวตา) เข้าออกด้านนอก (ทางหางตา) เฉียงขึ้น หรือเฉียงลง เนื่องจากมีภาวะผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวลูกตาทั้ง 2 ข้างขาดการประสานงานเช่น คนปกติ (คนปกติจะเคลื่อนไหวลูกตาในลักษณะที่ประสานสอดคล้องกัน เพื่อให้มองเห็นภาพเป็น 3 มิติ โดยมีสมองเป็นตัวสั่งการมาที่กล้ามเนื้อกลอกลูกตาทั้ง 2 ข้าง) โรคนี้พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก แต่ก็อาจพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้

สาเหตุ ตาเข

  1. ในทารกแรกเกิด สายตายังเจริญไม่เต็มที่ อาจมีอาการตาเขได้บ้าง แต่ถ้าอายุเลย 6 เดือนไปแล้วยังมีอาการตาเขอยู่อีกก็ถือว่าผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากสายตาผิดปกติ (เช่น สายตาสั้น สายตายาว) หรือมีความพิการของกล้ามเนื้อกลอกลูกตา ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากมะเร็งลูกตาในเด็ก 
  2. ถ้าอาการตาเขเกิดขึ้นในภายหลังเมื่อพ้นวัย เด็กเล็ก มักจะเกิดจากกล้ามเนื้อกลอกลูกตาเป็นอัมพาตจากสาเหตุต่างๆ เช่น

อาการ ตาเข

ถ้าเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เด็กมักจะไม่มีอาการอะไร นอกจากตาเข แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบแก้ไข ตาข้างที่เขจะมีสายตาพิการได้ ทั้งนี้เพราะเด็กจะไม่ใช้ตาข้างนั้นในการมอง (เพื่อหลีกเลี่ยงการเห็นภาพซ้อน โดยใช้ตาข้างที่ดีเพียงข้างเดียว) เมื่อไม่ใช้ตาข้างนั้นนานๆ เข้าสายตาก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนตาบอดในที่สุด เรียกภาวะนี้ว่า สายตาขี้เกียจ (amblyopia)

ในรายที่เป็นตาเขตอนโต มักจะมีอาการเห็นภาพ 2 ภาพ หรือเห็นภาพซ้อนร่วมด้วย และอาจมีอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น

การป้องกัน ตาเข

  1. ทารที่ทุกคนควรได้รับการกรองอาการตาเขเป็นระยะ ตั้งแต่อายุได้ 2-3 เดือน
  2. อาการตาเขที่พบในทารกและเด็กเล็ก ควรนึกไว้เสมอว่า อาจมีสาเหตุผิดปกติซ้อนเร้นอยู่ และควรได้รับการรักษาก่อนอายุ 3-5 ปี อย่าเข้าใจผิดว่าโตขึ้นจะหายได้เอง มิเช่นนั้นเด็กอาจตาเขและสายตาพิการอย่างถาวรได้          

การรักษา ตาเข

  1. ถ้าพบอาการตาเขเป็นครั้งคราวในทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรเฝ้าติดตามดูอาการไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่มีสาเหตุที่ผิดปกติ ก็มักจะหายได้เองเมื่ออายุได้ 6 เดือน ถ้าอายุพ้น 6 เดือนแล้วยังไม่หาย ควรปรึกษาจักษุแพทย์ 
  2. ถ้าทารกมีอาการตาเขตลอดเวลา หรือพบในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ ตาข้างที่เขอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจจนถึงตาบอดได้

การรักษา ให้ผู้ป่วยฝึกการใช้ตาข้างที่เข โดยการปิดตาข้างที่ดี วันละหลายชั่วโมง เพื่อให้ตาข้างที่เขได้ทำหน้าที่บ้าง

                ถ้ามีภาวะสายตาสั้นหรือสายตายาว ควรตัดแว่นตาใส่ การรักษาโดยวิธีดังกล่าวอาจช่วยให้เด็กบางคนหายตาเขได้ภายในไม่กี่เดือน

                ถ้าตาเขมาก หรือรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด

                การรักษาอาการตาเขและตาขี้เกียจ เมื่อกระทำก่อนเด็กอายุได้ 3-5 ปี จะทำให้การมองเห็นกลับคืนสู่ปกติได้สูง ถ้าอายุ 5-7 ปี อาการตาขี้เกียจต้องใช้เวลารักษานานขึ้น และอายุมากกว่า 7 ปี การรักษาตาขี้เกียจมักไม่ค่อยได้ผล เพราะหลังวัยนี้ไปแล้ว ตาข้างที่เขอาจมีสายตาพิการอย่างถาวรจนยากที่จะแก้ไขได้

                3. ถ้าพบอาการตาเขในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่สงสัยว่าอาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ ควรส่งปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะได้ทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ส่วนใหญ่ภายหลังการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้หายแล้ว อาการตาเขมักจะหายได้ แต่ถ้าไม่หายอาจต้องใส่แว่นหรือทำการแก้ไขด้วยการฉีดสารโบทูลิน (โบท็อกซ์) หรือการผ่าตัด

[Total: 0 Average: 0]