ถ่ายเป็นเลือด

การถ่ายเป็นเลือด เป็นลักษณะอาการที่มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทวารหนัก ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีแดงเข้ม สาเหตุหลักที่มักทำให้ถ่ายเป็นเลือดเกิดจากความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวารหนัก ซึ่งการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเป็นจุดเริ่มต้นของโรคที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าโรคริดสีดวงทวารได้

สาเหตุ ถ่ายเป็นเลือด

  1. ริดสีดวงทวารหนัก เกิดจากการเบ่งอุจจาระเป็นประจำเนื่องจำท้องผูก ท้องเสีย ทำให้เส้นเลือดดำที่ปลายทวารหนักบวมและไม่ยุบลงไป เกิดเป็นตุ่มริดสีดวง เวลาขับถ่ายจะมีเลือดหยดออกมาหลังการถ่าย หรือมีเลือดปนทิชชู่ตอนเช็ดทำความสะอาด ส่วนอุจจาระเป็นสีปกติ
  2. โรคเส้นเลือดขอดลำไส้ใหญ่ผิดปกติ เกิดจากเส้นเลือดเล็ก ๆ มีจำนวนมากขึ้นผิดปกติ ทำให้เวลาขับถ่ายมีเลือดออกมาด้วยทั้งแบบก้อนและแบบน้ำเลือด โดยไม่มีอาการปวดท้อง มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี
  3. ติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ เป็นเนื้องอกที่เกิดจากกรรมพันธุ์ผิดปกติ สามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ โดยอาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน ทำให้บางครั้งอาจมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ ทำให้มีเลือดเคลือบผิวอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา
  4. ลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น โรคบิดทั้งมีตัวและไม่มีตัว ซึ่งมีอาการสำคัญคือถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายบ่อย ๆ มีไข้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกร่วมกับมีเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด
  5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั้งในไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยจะมีการขับถ่ายผิดปกติ โดยมีอาการท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระมีเลือด มีมูกเลือดปนอยู่ในเนื้อเดียวกับอุจจาระ เป็นต้น

อาการ ถ่ายเป็นเลือด

นอกเหนือจากอาการที่มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทวารหนัก ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีแดงเข้มแล้ว อาจพบอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับโรคและการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของอาการถ่ายเป็นเลือดด้วย

โดยอาการที่อาจพบร่วมกับการถ่ายเป็นเลือด หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากถ่ายเป็นเลือด ได้แก่

การรักษา ถ่ายเป็นเลือด

  • การรักษาแผลที่ทวารหนัก โดยการนั่งแช่น้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาแผล และริดสีดวงทวารที่เกิดขึ้น โดยควรรักษาอาการท้องผูกควบคู่ไปด้วย
  • การห้ามเลือด แพทย์จะสอดกล้องพร้อมเครื่องมือพิเศษเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจหาตำแหน่งอวัยวะภายในที่เสียหายและมีเลือดออก เพื่อฉีดสารให้เลือดหยุดไหล โดยอาจใช้เลเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ยึดปิดเส้นเลือดที่เสียหายและมีเลือดไหล
  • การให้ยา บางโรคแพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) ในกระเพาะอาหาร ยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • การผ่าตัด ในบางกรณี แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น เช่น ผ่าตัดนำติ่งเนื้อออกไป ผ่าตัดนำเนื้อร้ายจากการป่วยมะเร็งออกไป หรือผ่าตัดนำเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายจากการบาดเจ็บหรืออักเสบออกไป
[Total: 0 Average: 0]