โรคคุชชิง

โรคคุชชิง (กลุ่มอาการคุชชิง) คือ กลุ่ม อาการผิดปกติของร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะมีกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสตีรอยด์กลุ่มหนึ่ง) มากเกิน เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

สาเหตุ โรคคุชชิง

                  ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้สารสตีรอยด์ (กลูโคคอร์ติคอยด์) สังเคราะห์ติดต่อกันนาน ๆ ในบ้านเราพบว่าเกิดจากการใช้สารที่มีสตีรอยด์ปะปนในรูปของยาชุดยาหม้อและยาลูกกลอนที่ผู้ป่วยนิยมซื้อใช้เองโดยความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้อาจพบในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้สตีรอยด์ในการบำบัดรักษาโดยแพทย์ เช่น เอสแอลอี โรคปอดข้อรูมาตอยด์ โรคไตเนโฟรติก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น

                  ส่วนน้อยเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมน กลูโคคอติคอยด์ (ส่วนใหญ่ได้แก่ คอร์ติซอล) มากเกิน ดังที่เรียกว่าภาวะคอร์ติซอลเกิน (hypercortisolism) ซึ่งอาจมีสาเหตุจากเนื้องอกของอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนชนิดนี้ เช่น 

  • เนื้องอกต่อหมวกไต (adrenal adenoma)และมะเร็งต่อมหมวกไต (adrenal carcinoma) ซึ่งสร้างฮอร์โมนคอร์ติชอลมากเกิน
  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง (pituitary adenoma) ซึ่งสร้างฮอร์โมนเอซีทีเอช (ACTH)กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลมาก เกินเนื้องอกอื่นๆ ที่พบบ่อย คือมะเร็งปอดชนิด และเนื้องอกคาร์ซินอยด์ ถุงน้ำดี ต่อมไทมัส รังไข่ อัณฑะ เป็นต้น)                                          
  • เนื้องอกเหล่านี้สามารถสร้างฮอร์โมนเอซีทีเอช กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลมากเกิน สำหรับเนื้องอกต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมองพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 25-40 ปี ส่วนมะเร็งปอดพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงวัยกลางคนขึ้นไป

                    การที่ร่างกายมีสารสตีรอยด์ (ไม่ว่าในรูปของคอร์ติซอลที่ร่างกายสร้างเอง  หรือสารสังเคราะห์ที่รับจากภาย นอก) อยู่นาน ๆ ส่งผลให้มีการสะสมไขมันตามร่างกาย (ทำให้อ้วนและมีก้อนไขมันพอก) การสลายตัวของโปรตีน ของกล้ามเนื้อ (ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาลีบ อ่อนแรง) การสลายตัวของแคลเซียมในกระดูก (ทำให้กระดูกพรุน นิ่วไต) การสร้างกลูโคสที่ตับจากโปรตีนและไขมัน (gluconeogenesis) แล้วปล่อยออกมาในกระแสเลือด (ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน) การยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดและคอลลาเจน (ทำให้ผิวบาง หนังลาย ฟกซ้ำง่าย แผลหายยาก) การคั่งของโซเดียมในร่างกาย (ทำให้บวม ความดันโลหิตสูง) เพิ่มการสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (ทำให้สิวขึ้น ขนอ่อนขึ้น ประจำเดือนผิดปกติ) ส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ (ทำให้มีอารมณ์ เคลิ้ม วิตกกังวล หรือซึมเศร้า อยากอาหาร) กดภูมิคุ้ม กัน (ทำให้ติดเชื้อง่าย) กดเส้นกระดูกและฮอร์โมน กระตุ้นการเจริญเติบโต (ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า)

อาการ โรคคุชชิง

                มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ เป็นแรมเดือนในระยะ แรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระ จันทร์ และออกสีแดงเรื่อ ๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่แอ่งไหปลาร้า 2 ข้างและที่ต้นคอด้านหลัง (อยู่ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง) และดูเป็นหนอก ซึ่งทางภาษาแพทย์ เรียกว่า อาหารหนอกควาย (buffalo’ hump) รูปร่างอ้วนโดย จะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่แขนขากลับลีบเล็กลงผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีความลำบากใน การยกต้นแขนขึ้น เดินขึ้นบันได และลุกจากที่นั่ง 

                ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณท้อง (ท้องลายคล้ายคนหลังคลอด) บริเวณสะโพก กระเบนเห็บ ต้นแขนต้นขา ผิวหนังบางและมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่าย เวลาถูกกระทบกระแทก

                มักมีสิวขึ้นที่หน้า หน้าอก หลัง และมีขนอ่อนขึ้น ที่หน้า ลำตัวและแขนขา (ถ้าพบในผู้หญิงทำให้ดูว่าคล้าย มีหนวดขึ้น) กระดูกอาจผุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง (เพรากระดูกสันหลังผุ) หรือกระดูกแตกหักง่าย

                อาจมีความดันโลหิตสูง หรือมีอาการของเบาหวาน

                ผู้หญิงอาจมีเสียงแหบห้าว มีขนมากแบบผู้ชายประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย และมีบุตรยากผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกอยากอาหารไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจมีอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือกลายเป็นโรคจิต 

ในรายที่เป็นเนื้องอกต่อมใต้สมอง มักมีอาการปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืนตามัว มีน้ำนมไหลผิดธรรมชาติ และอาจมีอาการของภาวะขาดไทรอยด์  ร่วมด้วย

ข้อแนะนำ โรคคุชชิง

                1.โรคนี้มักเกิดจากการใช้สตีรอยด์มากเกินเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยานี้พร่ำเพรื่อ หรือใช้อย่างผิด ๆ (เช่น การซื้อยาชุด ยาหม้อหรือยาลูกกลอนที่มียานี้ผสมกินเป็นประจำ) ยกเว้นโรคบางโรคอาจต้องใช้ ยานี้รักษา ซึ่งก็ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

                2.ในรายที่เป็นโรคคุชชิงจากการใช้สตีรอยด์มากเกิน ระหว่างรอส่งไปโรงพยาบาลห้ามหยุดยาสตีรอยด์ ทันที ควรให้กินสตีรอยด์ต่อไปจนกว่าแพทย์จะปรับเฉียบพลัน จนเกิดภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ เป็นอันตราย ถึงเสียชีวิตได้

                3.โรคนี้ถ้าไม่รักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อน เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

                4.ในรายที่เกิดจากเนื้องอกชนิดไม่ร้าย การผ่าตัด จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติแต่ จะต้องกินสตีรอยด์เข้าไปทดแทนในร่างกายตลอดไปห้ามขาดยาเป็นอันขาด

การรักษา โรคคุชชิง

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 1 สัปดาห์   

                แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติและอาการของโรค เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เกิดจากการใช้สารสตีรอยด์มากเกิน ซึ่งการตรวจเลือดมักพบว่ามีระดับคอร์ติซอลต่ำกว่าปกติ

                ในกรณีที่ไม่มีประวัติการใช้สารสตีรอยด์ ซึ่งมักมี สาเหตุจากเนื้องอกของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง และ เนื้องอกส่วนอื่น ๆ แพทย์จะทำการตรวจระดับคอร์ติซอล ในเลือดและปัสสาวะ ซึ่งพบว่าสูงกว่าปกติ ตรวจระดับ เอซีทีเอช (ACTH) ซึ่งพบว่าต่ำในผู้ป่วยเนื้องอกต่อม หมวกไต และพบว่าสูงในผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง และอาจทำการทดสอบที่เรียกว่า “Dexamethasone suppression test" และอาจจำเป็นต้องทำการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อค้นหาเนื้องอกต่าง ๆ

                นอกจากนี้อาจต้องทำการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ตรวจเลือด (พบน้ำตาลสูงไขมันชนิดแอลดีเอล และไตรกลีเซอไรด์สูง โพแทสเซียมต่ำ) เอกซเรย์ (พบร่องรอยกระดูกหัก หัวใจห้องล่างซ้ายโต นิ่วไต

การรักษา ในรายที่มีสาเหตุจากการใช้สตีรอยด์ มากเกิน แพทย์จะยังคงให้ผู้ป่วยกินยาสตีรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน แต่จะหาทางค่อย  ๆ ลดขนาดของ ยาลงทีละน้อย และทำการตรวจวัดระดับคอร์ติซอลในเลือดเป็นระยะ ๆ ซึ่งจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่มีระดับต่ำ จนกลับสู่ระดับปกติในที่สุด  ซึ่งมักจะใช้เวลา นานเป็นปี จึงจะหยุดยาสตีรอยด์

                ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ให้กินยาสตีรอยด์ทดแทนไปจนตลอดชีวิต เพราะภาย หลังการผ่าตัดร่างกายสร้างฮอร์โมนชนิดนี้เองไม่ได้

[Total: 0 Average: 0]