ปวดไต

ความรู้สึกไม่สบายที่ไต ซึ่งอยู่ใต้ซี่โครงส่วนล่างที่ด้านหลัง

สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดไต

การปวดไตอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การกลั้นปัสสาวะนานเกินไป บาดแผล หรือการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกที่ด้านหลัง ซึ่งไม่ได้เป็นการปวดไตจริงๆ

ปวดไต เท่าไหร่ควรไปพบแพทย์

ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

  • มีอาการปวดข้างเดียวที่คงที่หรือแย่ลง
  • ปวดตามร่างกาย
  • มีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะเมื่อเร็วๆ นี้

ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้

  • ปวดอย่างฉับพลันและรุนแรง
  • มีเลือดในปัสสาวะ
  • มีไข้หรือหนาวสั่น

อาการ โรคไต

  • เริ่มจากสภาพทั่วๆไป ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ผู้ป่วยโรคไตบางรายจะซูบลง น้ำหนักลด แต่โรคไตบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยบวม น้ำหนักมากขึ้น
  • ทางด้านผิวหนัง จะซีด คัน มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย ผิวหนังแตกแห้ง เป็นแผลแล้วหายช้า ผู้ป่วยบางรายจะมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ
  • ระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ สะอึก ปวดท้อง ท้องเดิน เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เป็นแผลในกระเพาะและลำไส้
  • ระบบหัวใจและการหายใจ ถ้าไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทำให้หัวใจทำงานไม่ไหว เหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเกิดภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำคั่งในปอด ปอดบวม ทำให้หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด
  • ด้านระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ขาดสมาธิ สมองเสื่อม ไม่สามารถคิดและจดจำได้เหมือนปกติ ในที่สุดอาจชักและหมดสติไปได้
  • ระบบกระดูก แคลเซียมต่ำจะทำให้กระดูกผุกร่อน กระดูกอ่อน เด็กที่มีไตวายจะหยุดเจริญเติบโตแคระแกร็น
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะแรกๆ ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง จนที่สุดเมื่อไตทำงานเสื่อมลงหรือไม่ทำงานเลย ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อย
  • ระบบโลหิต เม็ดเลือดแดงน้อยทำให้โลหิตจาง ผู้ป่วยทุกรายเมื่อไตเสื่อมลง จะมีอาการซีด การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกง่าย เลือดไหลไม่หยุด มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัว
  • ระบบภูมิต้านทานโรค ผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้ง่าย
  • ระบบฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายผู้ป่วยโรคไต มักจะมีการทำงานผิดปกติของฮอร์โมนเกือบทุกชนิด ทั้งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง จากต่อมไธรอยด์ จากต่อมพาราไธรอยด์ จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ ฮอร์โมนจากลูกอัณฑะในเพศชาย ทำให้เป็นหมันและหมดสมรรถภาพทางเพศ

โรคที่เกี่ยวกับ ปวดไต

นิ่วในไต

คราบแข็งเล็กๆ ที่ก่อตัวในไตและมักเจ็บเมื่อส่งผ่าน การแสดงอาการ:

  • ปวดไต
  • มีเลือดในปัสสาวะ
  • ปวดหลัง

กรวยไตอักเสบ

ภาวะไตอักเสบอันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การแสดงอาการ:

  • ปวดไต
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • หนาวสั่น

โรคถุงน้ำในไต

โรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมซึ่งมีกลุ่มซีสต์เกิดขึ้นในไต การแสดงอาการ:

  • ปวดไต
  • ไตมีความเสียหาย
  • มีเลือดในปัสสาวะ

กล้ามเนื้อฉีก

กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมกล้ามเนื้อและกระดูก (เส้นเอ็น) ยืดหรือฉีกขาด การแสดงอาการ:

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • การจํากัดพิสัยการเคลื่อนไหว
  • ตะคริว

เกาต์

ข้ออักเสบประเภทหนึ่งที่อาการรวมถึงความเจ็บรุนแรง ผิวแดง และมีอาการกดเจ็บที่ข้อต่อ การแสดงอาการ:

  • อาการบวม
  • ข้ออักเสบ
  • ไตมีความเสียหาย
  1. กรวยไตอักเสบ
  2. กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
  3. กรวยไตอักเสบเรื้อรัง
  4. นิ่วท่อไต
  5. นิ่วไต
  6. ภาวะไตบวมน้ำ
  7. ภาวะไตวาย
  8. หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
  9. โรคไตอักเสบ
  10. โรคไตอักเสบชนิดไอจีเอ
  11. โรคไตอักเสบเฉียบพลันในเด็ก
  12. โรคไตเนโฟรติก
[Total: 0 Average: 0]